ทารกแรกเกิดวิกฤติ ทุกนาทีมีความหมายกับชีวิต

1497 Views  | 

ทารกแรกเกิดวิกฤติ ทุกนาทีมีความหมายกับชีวิต

ทารกแรกเกิดวิกฤติ ทุกนาทีมีความหมายกับชีวิต

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์การดู แลเจ้าตัวน้อยให้ออกมาลืมตาดู โลกอย่างราบรื่นคือสิ่งสำคัญที่ สุด จากข้อมูลของสถาบันสุขภาพเด็ กแห่งชาติมหาราชินีระบุว่า ประเทศไทยมีทารกเกิดใหม่ถึงปีละ 7 แสนคน โดยมีทารกที่เกิดก่ อนกำหนดประมาณ 1 แสนคน และอัตราการเสียชีวิตของเด็ กแรกคลอดอยู่ที่ 6.7 คนใน 1 พันคน เป็นอันดับ 3 ของอาเซียน ดังนั้นทารกแรกเกิ ดและทารกแรกเกิดวิกฤติจึงจำเป็ นต้องได้รับการดูแลโดยกุ มารแพทย์สาขาทารกแรกเกิดและปริ กำเนิดโดยเฉพาะที่หน่วยดู แลทารกแรกเกิดวิกฤติ (Neonatal Intensive Care Unit: NICU) ไม่เพียงช่วยให้รักษาได้ทันท่ วงที ยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิ ดขึ้นได้ เพราะทุกนาทีของทารกแรกเกิดนั้ นมีความสำคัญอย่างมาก เวลาที่ต่างกันในการคลอดแม้เพี ยงหนึ่งวันก็มีผลต่อพั ฒนาการของทารก  


คุณแม่รู้ทันครรภ์เสี่ยง


ทารกแรกเกิดอาจมีความผิดปกติ หากคุณแม่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่ อไปนี้


• ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี


• มารดาอายุน้อยกว่า 16 ปี


• มีเลือดออกผิดปกติขณะตั้งครรภ์


• รกลอกตัวก่อนกำหนดคลอด หรือรกเกาะต่ำ


• ความดันโลหิตสูง เกิน 160 มม.ปรอทขึ้นไป


• โรคเบาหวาน


• มีการติดเชื้อ เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่าง ๆ


• โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE)


• ครรภ์แฝด


• ครรภ์เป็นพิษ


• น้ำคร่ำมากหรือน้อยเกินไป


• ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด


ความผิดปกติของทารก


ภาวะวิกฤติหรือความผิดปกติ ของทารกที่ต้องได้รับการดูแลรั กษา ได้แก่


• ทารกคลอดก่อนกำหนด อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ (หรือหลังอายุครรภ์ 42 สัปดาห์)


• ทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม หรือมากกว่า 4,000 กรัม


• ทารกมีน้ำหนักผิดปกติเมื่อเที ยบกับอายุครรภ์


• ทารกแฝด


• ทารกตรวจพบความผิดปกติ เช่น ขาดออกซิเจน


• ทารกมีท่าผิดปกติในครรภ์ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง


• ทารกเกิดความผิดปกติระหว่างคลอด


• ทารกพิการแต่กำเนิด


การดูแลทารกแรกเกิด


การดูแลทารกแรกเกิดควรได้รั บการดูแลอย่างใกล้ชิดจากกุ มารแพทย์ ซึ่งการดูแลที่จำเป็น ได้แก่


• การวัดสัญญาณชีพตลอด 24 ชั่วโมง


• การควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม


• การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ


• การดูแลรักษาระบบทางเดินหายใจ


• การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน


• การเฝ้าระวังติดตามและการดูแลรั กษาเฉพาะโรค


• การดูแลด้านโภชนาการ


• การดูแลด้านขับถ่าย


• การดูแลติดตามด้านพั ฒนาการในระยะสั้นและระยะยาว


 


การดูแลเฉพาะทารกแรกเกิดวิกฤติ


ทารกที่มีความผิดปกติจำเป็นที่ จะต้องได้รับการดูแลเป็นพิ เศษในด้านต่าง ๆ ดังนี้


• การช่วยกู้ชีพและให้ออกซิ เจนทารก 
เป็นการดูแลหลั งจากทารกคลอดออกมา ซึ่งเด็กที่คลอดส่วนใหญ่ จะหายใจเองได้ แต่มีเพียง 1% เท่านั้นที่ไม่สามารถหายใจได้ เอง ซึ่งต้องการการกู้ชีพจึงต้องใช้ อุปกรณ์ช่วยหายใจเพื่อให้ ทารกหายใจเองได้


• การปรับอุณหภูมิร่างกายทารก 
โดยใช้ตู้อบช่วยให้ทารกมีอุณหภู มิเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ควรอยู่ในช่วง 36.8 – 37.2 องศาเซลเซียส เพราะหากทารกแรกคลอดตัวเย็น อาจทำให้ความดันในปอดสูง เกิดปัญหาหายใจเร็วได้


• การควบคุมการติดเชื้อ 
เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทารกอยู่ ในครรภ์ เช่น แม่มีน้ำเดินก่อนคลอดนานกว่า 18 ชั่วโมง แม่มีเชื้อราในช่องคลอด แม่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น


• การให้สารน้ำ สารอาหาร และโภชนาการที่เหมาะสม 
จะเน้นการให้นมแม่มากที่สุด แต่หากทารกมีภาวะเจ็บป่วย เช่น น้ำตาลต่ำ อาจต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลื อดเป็นระยะ หรือในกรณีที่ทารกคลอดก่อนกำหนด หายใจเร็ว ไม่สามารถทานเองได้ก็จำเป็นที่ จะต้องให้สารอาหารผ่ านทางสายยางให้อาหารและสารน้ำ ทางเส้นเลือด เป็นต้น


นอกจากนี้การดูแลทารกแรกเกิดวิ กฤตินั้นมีการนำอุปกรณ์และเครื่ องมือที่ทันสมัยเข้ามาช่ วยในการดูแลรักษา อาทิ ตู้อบ เครื่องช่วยหายใจความถี่สูง เครื่องจ่ายก๊าซไนตริกออกไซด์ เพื่อรักษาภาวะความดันหลอดเลื อดในปอดสูง เครื่องส่องไฟรักษาภาวะตัวเหลื องในทารกแรกเกิด เป็นต้น เพื่อให้ทารกมีสุขภาพที่แข็ งแรงโดยเร็ว


ปัญหาทารกแรกเกิดวิกฤตินั้ นสามารถป้องกันได้ หากคุณแม่ฝากครรภ์อย่างมีคุ ณภาพตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เพื่อจะได้ตรวจสุขภาพคุณแม่คุ ณลูกและดูแลอย่างถูกต้ องตามคำแนะนำของสูติ – นรีแพทย์และกุมารแพทย์ หากพบปัญหาจะได้ วางแผนการคลอดและการดูแลรั กษาได้โดยเร็ว ซึ่งโรงพยาบาลกรุงเทพพร้อมดู แลสุขภาพคุณแม่ตั้งครรภ์ให้เจ้ าตัวน้อยออกมาลืมตาดูโลกได้อย่ างแข็งแรงและเติบโตมีพัฒนาการที่ ดีตามวัย


โดยหน่วยดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติ โรงพยาบาลกรุงเทพ มีกุมารแพทย์สาขาทารกแรกเกิ ดและปริกำเนิดพร้อมดูแลตลอด 24 ชั่วโมง มีการทำงานร่วมกับสูติแพทย์เพื่ อวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม อีกทั้งตลอดระยะเวลาของการรั กษาจะแจ้งรายละเอียดให้คุณพ่อคุ ณแม่ทราบครบทุกขั้นตอนอย่างต่ อเนื่องเพื่ อความสบายใจและความเข้าใจที่ถู กต้อง นอกจากนี้หน่วยดูแลทารกแรกเกิ ดวิกฤติ โรงพยาบาลกรุงเทพพร้ อมประสานงานอย่างเป็ นระบบในการรับและดูแลผู้ป่วยต่ อจากโรงพยาบาลอื่น ๆ เพื่อให้คุณแม่และเจ้าตัวน้อยสุ ขภาพแข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ ดีทั้งครอบครัว


ขอบคุณข้อมูลโดย
: พญ. อรวรรณ อิทธิโสภณกุล
ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy