การดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน

1828 Views  | 

การดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน

 การดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน

การดูแลลูกน้อยหลังออกจากโรงพยาบาล หลังจากที่พาลูกน้อยกลับบ้าน ลูกจะนอนนานแค่ไหน แล้วคุณพ่อคุณแม่จะได้หลับเต็มอิ่มไหม สารพันคําถามโดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกอาจเป็นช่วงเวลาที่ โหดที่สุดสําหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ มาดูกันดีกว่าค่ะว่า คุณพ่อคุณแม่ต้องทําอย่างไรบ้าง


 อ.พญ.ฉัตรฉาย  เปรมพันธ์พงษ์  ภาควิชากุมารเวชศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เล่าให้เราฟังว่า


การดูแลลูกน้อยหลังจากออกจากโรงพยาบาล จะว่ายากก็ยากจะว่าง่ายก็ง่าย อยู่ที่เราต้องเข้าใจพัฒนาการของเขา เด็กส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปกับการนอนมากในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นจะเริ่มตื่นเพื่ ออยากจะทําอย่างอื่นมากขึ้น เช่น ตื่นขึ้นมาเล่น ตื่นขึ้นเพราะเปียก ตื่นขึ้นมาเพราะหิว ซึ่งมีคําถามมากมายที่คุณพ่อคุ ณแม่มักจะถามอยู่เสมอๆ ดังนี้


 จะให้ลูกน้อยนอนคว่ำหรือนอนหงายดี?


เนื่องจากช่วง 1-2 เดือนแรก ลูกน้อยยังคอไม่แข็งดี สถาบันการแพทย์ทั่วโลกและในประเทศไทยแนะนําให้ลู กน้อยนอนหงาย เพราะเป็นท่าที่ปลอดภัยมากที่สุด แต่ถ้าอยากให้ลูกน้อยนอนคว่ำหรื อนอนตะแคงเพราะความเชื่อที่ว่ าหัวจะสวย คุณแม่ควรจะต้องดูลูกน้อยอยู่ ตลอดเวลาอย่าละสายตาเพื่อความปลอดภัยในการหายใจของเขา เช่น หัวอาจจะไปซุกอยู่ในที่นอนทํ าาให้หายใจไม่สะดวก จนอาจเกิดอันตรายได้ 


 การให้นมลูก?


ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ ยากลําบากที่สุดก็ว่าได้ เวลาที่ดีที่สุดในการเริ่มให้ นมบุตรคือ การให้นมบุตรทันทีหลังคลอด โดยปกติลูกน้อยจะตื่นตัวมากหลั งคลอด และเมื่อวางลูกน้อยบนหน้าอก ลูกอาจเคลื่อนตัวไปที่เต้ านมและเริ่มดูดนมได้เอง อย่ากังวลว่าจะไม่สามารถให้นมลู กได้ทันทีหลังคลอด เด็กแรกคลอดส่วนใหญ่ไม่มีปั ญหาแม้ว่าน้ำนมของคุณแม่จะมาช้า นอกจากนี้ยังควรมีความถี่ ในการให้นมลูกทุกๆ 2-3 ชั่วโมงในช่วงแรกหรือตามที่ลู กน้อยต้องการ วิธีนี้จะเป็นการกระตุ้นให้เต้ านมผลิตน้ำนมได้มากขึ้นและเพื่ อลดหรือป้องกันอาการคัดตึงเต้ านม ไม่ควรให้ลูกน้อยดื่มน้ำในช่วงนี้


 วิธีการให้ลูกดูดนมที่ถูกต้อง?


พยายามให้ลูกอ้าปากกว้างๆ ใช้หัวนมแตะที่จมูกหรือริมฝีปากลูก เพื่อกระตุ้นให้ลูกอ้าปาก เมื่อลูกอ้าปาก ให้ประคองศีรษะลูกเข้ามาที่หน้าอก ให้คางและริมฝีปากล่างของลูกสัมผัสเต้านมก่อน ควรตรวจดูว่า ลูกอมลานหัวนมได้ลึกดีพอหรือไม่ อย่าลืมว่าต้องอุ้มลูกเข้ามาหาอกแม่ ไม่ใช่ก้มตัวแม่ไปหาปากลูก ท่าทางในการให้นมลูก มีดังนี้ค่ะ


1)  ท่านั่งและอุ้มแนบอก อุ้มลู กนอนในท่าตะแคง ท้องของลูกแนบชิดกับท้องของคุ ณแม่ ใบหน้าของลูกเงยขึ้นจนมองเห็ นหน้าคุณแม่  ในกรณีที่ลูกดูดนมด้านขวา ลําตัวของลูกจะอยู่บนท่ อนแขนขวาของคุณแม่ และให้ใช้มือขวากุมกระชับก้นลู กเอาไว้  อาจหาหมอนมาช่วยพยุงหลัง รองใต้แขนและวางบนตักเพื่อให้ เกิดความสบายขณะให้นมลูกได้


2) ท่านั่งและอุ้มแนบอกแบบสลั บแขน (ท่าฟุตบอล) หาหมอนมาวางด้านข้ างลําตัวของคุณแม่ วางลูกลงบนหมอนแล้วโอบกระชับลู กเข้ากับสีข้างด้านที่ คุณแม่ต้องการจะให้นม  โดยจัดให้ลูกนอนในท่ากึ่งตะแคง กึ่งนอนหงาย เท้าชี้ไปด้านหลัง พร้อมทั้งใช้ฝ่ามือด้านเดียวกั บเต้านม ประคองท้ายทอยและหลังของลู กเอาไว้


 การดูแลสุขภาพช่องปากลูกน้อย?


หลังจากให้ลูกทานนมอิ่มแล้ว การเช็ดทําความสะอาดช่องปากของลูก ก็ถือเป็นเรื่องสําคัญ เนื่องจากคราบนมที่ติดตามเหงือกและลิ้นของลูก  อาจทําให้เกิดฝ้าขาวขึ้นได้  ดังนั้น  คุณแม่มือใหม่ต้องใส่ใจ และหมั่นดูแลทําความสะอาดช่องปากของลูกเป็นประจําทุกวัน โดยเฉพาะเหงือกเพื่อเป็นการเตรี ยมความพร้อมให้กับฟันซี่น้อยๆ ของลูกที่จะขึ้นในไม่ช้า  และนมแม่เป็นอาหารธรรมชาติที่ วิเศษที่สุดสําหรับลูกน้อย เพราะมีคุณค่าทางอาหาร ย่อยง่าย มีภูมิคุ้มกันโรค ไม่ต้องเตรียม สะอาด และสะดวก คุณแม่จึงควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อยๆ 3-4 เดือน ตลอดจนทําให้เกิดฝ้าขาวในปากน้อยกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมขวด การดูแลความสะอาดช่องปากของลูกน้อย เพื่อทําให้เด็กปากสะอาดไม่เกิดเชื้อรา ทําให้ลูกเคยชินกับการมีสิ่งของเข้าปาก ซึ่งจะช่วยให้ลูกยอมรับการแปรงฟันได้ง่ายเมื่อถึงเวลาที่ต้องแปรงฟัน โดยการใช้ผ้านุ่มสะอาดพันปลายนิ้ว ชุบน้ำสะอาด เช็ดเหงือก


 การร้องไห้?


เป็นเรื่องธรรมดาของทารกแรกเกิด เนื่องจากความรู้สึกไม่ สบายกายไม่สบายใจ ทําให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ไม่ เข้าใจลูกน้อย เช่น ลูกเป็นเป็นโคลิค ที่มักเกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนแรก ส่วนมากจะร้องนาน 100 วัน และมักจะร้องเป็นเวลา เมื่อลูกไม่สบาย ลูกเจ็บป่วยมักจะร้องโยเย หากคุณแม่ลองจับตัวลูกดูก็ อาจจะรู้สึกได้ว่าลูกตัวร้อนผิดปกติ และอาจมีอาการนําามูกไหล ไอ อาเจียนร่วมด้วย ควรวัดอุณหภูมิเพื่อดูว่ามีไข้ หรือไม่ หากคุณแม่พบว่าลูกไม่สบาย ควรรีบพาไปพบแพทย์ หากคุณแม่สังเกตว่าลูกน้อยมั กจะร้องไห้โยเยทุกครั้งที่ นอนหงาย และร้องไม่ยอมนอน อาจเกิดจากอาการท้องอืดหรือแน่ นท้อง คุณแม่ควรอุ้มลูกพาดบ่า พร้อมลูบหลังอย่างแผ่วเบา ลูกจะเรอเอาลมออกมา แล้วจะรู้สึกสบายตัว


 อาการตัวเหลือง?


ในทารกหลังคลอดก็เป็นอีกภาวะที่ พบได้บ่อยมากในปัจจุบัน ซึ่งเกิดได้หลากหลายสาเหตุ เด็กตัวเหลืองหลังคลอดพบได้เสมอ เกิดจากสาเหตุได้หลายประการ เช่น มีปัญหาโรคตับ ปัญหาของความผิดปกติของเอ็นไซม์ ที่อยู่ในเม็ดเลือดบางประการ  รวมทั้ง  ปัญหาของกลุ่มเลือดของแม่กับลูกที่ไม่สัมพันธ์กัน แต่ที่พบบ่อยที่สุดคืออาการตั วเหลืองปกติในเด็ก ที่เกิดจากระบบการทํางานของตับยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ส่วนมากจะหายไปได้ภายในเวลาไม่นาน


เด็กแต่ละคนจะมีระดั บของความเหลืองหรือที่เรียกว่ าระดับบิลิลูบินไม่เหมือนกัน บางคนเป็นน้อยมองไม่เห็นได้ด้ วยตาเปล่า บางคนก็มีระดับความเหลืองสู งจนคุณแม่สามารถสังเกตได้ด้ วยตาเปล่า การรักษาก็จะดูเป็นระยะๆ ไปตามความรุนแรงของอาการตัวเหลื องนั้น โดยทั่วไปแล้วไม่ต้องทําอะไร หากเป็นน้อยๆ จะหายไปได้เอง แต่ในกรณีที่ตัวเหลืองมองเห็นด้ วยตา และตรวจสอบได้ว่ามีระดับบิลิลู บินสูงขึ้น คุณหมอจะให้การรักษาด้ วยการอบไฟตามที่คุณแม่ได้รั บทราบมาแล้ว จากนั้นก็จะตรวจระดับของบิลิลู บินเป็นช่วงๆ การที่คุณหมอบอกว่าผลของบิลิลู บินปกตินั้นคงหมายความว่ายังอยู่ ในเกณฑ์ที่ไม่มีอันตราย ทําให้ไม่ต้องมีการรักษาพยาบาลที่มากไปกว่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายเลือดซึ่งอาจมีความจําเป็นในเด็กที่ มีตัวเหลืองมากๆ เด็กที่ตัวเหลืองจะหายเป็นปกติ และสามารถเจริญเติบโตอย่างสมบู รณ์ได้ ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะว่าเด็กที่มีอาการตัวเหลืองและคุณหมอได้ให้การดูแลรักษาในช่วงแรก คุณหมอจะตรวจกรองโรคต่างๆ ดังที่เรียนให้ทราบแล้ว คุณแม่คลายกังวลและเลี้ยงลูกไปตามปกติเลย


 บทความโดย : กิติยา สุวรรณสิทธิ์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy