เด็ก กับโรค โควิด-19

1917 Views  | 

เด็ก กับโรค โควิด-19


สงครามโรคระบาดครั้งนี้ นับเป็นสงครามครั้งยิ่งใหญ่ ของมนุษยชาติเลยก็ว่าได้ ระบาดไปทั่วทุกชาติพันธุ์ ทุกชนชั้น ทุกเพศทุกวัย รวมถึงเด็ก ตั้งแต่วัยแรกคลอดก็ไม่เว้น  เฟ แอนด์ เม มีสาระความรู้เกี่ยว "เด็กกับโรค โควิด-19" มาฝากกันค่ะ

• พบเด็กประมาณร้อยละ 13 ของผู้ป่วยทั้งหมด ติดเชื้อ SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19 แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุ นแรงหรือไม่มีอาการ

• เด็กที่มีภาวะอ้วน เป็นโรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก หรือภาวะความผิดปกติ ทางระบบประสาท มีโอกาสเกิดอาการป่วยแทรกซ้อนที่ รุนแรงได้

• แม้ในช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาด ก็ควรพาเด็กไปรับการตรวจสุ ขภาพและรับวัคซีนตามนัด โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ โดยเลือกรับบริ การเฉพาะสถานพยาบาลที่แยกบริ เวณเด็กป่วยกับเด็กไม่ป่ วยออกจากกัน ไม่ให้ปะปนกันอย่างชัดเจน

ช่วงนี้อาจเห็นข่าวเด็กติดเชื้อ SARS-CoV-2 เยอะขึ้นพอสมควร พ่อแม่หลายคนมีความกังวลใจว่ าจะดูแลลูกๆ อย่างไรไม่ให้มีความเสี่ยงหรื อติดโรค COVID-19 หรือหากเรื่องร้ายแรงไปถึงขั้ นที่ว่า หากเด็กเกิดการติดเชื้อแล้ว จะมีอาการรุนแรงหรือไม่ หรือต้องทำอย่างไรต่อไป แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคติดเชื้ อมีคำแนะนำมาให้เพื่อคลายข้อกั งวลใจสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ดังนี้

อัตราการติดโรค COVID-19 ของเด็กๆ

ในสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา พบเด็กที่ติดเชื้อ SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19 ประมาณร้อยละ 13 ของผู้ป่วยทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุ นแรงหรือไม่มีอาการเลย และพบน้อยมากที่เด็กติดเชื้อแล้ วมีอาการรุนแรง และต้องรับการรักษาในหอผู้ป่ วยวิกฤติ หรือใช้เครื่องช่วยหายใจ แต่อย่างไรก็ตาม เด็กก็มีแนวโน้มที่จะเกิ ดอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้ อนที่รุนแรงได้ หากผู้ป่วยเด็กคนนั้นมีภาวะอ้วน เป็นโรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก หรือภาวะผิดปกติทางระบบประสาท

ส่วนในเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบ หากติดโควิด-19 จะมีอาการมากกว่าเด็กโต เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่ างกายยังพัฒนาได้ไม่ดีพอ และช่องทางเดินหายใจยังมี ขนาดเล็ก พูดให้เห็นภาพชัดขึ้นก็คือ มีลักษณะเหมือนเด็กที่เป็ นโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะมีปัญหาของระบบทางเดิ นหายใจ ส่วนเด็กที่ได้รับวัคซีนป้องกั นการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุ นแรงก็จะป้องกันได้เฉพาะเชื้อที่ ฉีดวัคซีนป้องกันไปเท่านั้น

เด็กติดเชื้อก่อโรค COVID-19 ได้อย่างไร

สภาพแวดล้อมที่เด็กจะติดเชื้อ SARS-CoV-2 ได้ ก็ไม่ต่างจากในผู้ใหญ่ นั่นก็คือ การอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยหรือผู้ติ ดเชื้อ อยู่ในพื้นที่ที่มีผู้คนรวมกั นอยู่มาก พบปะผู้คนโดยไม่มีการป้องกันโรค ไม่สวมหน้ากากอนามัย ไม่ทำความสะอาดร่างกาย ไม่รักษาระยะห่าง ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อทั้ งที่มีและไม่มีอาการ ก็อาจติดเชื้อได้หากไม่มีการป้ องกันการติดเชื้อที่ เหมาะสมและดีพอ ไม่เว้นแม้แต่พ่อแม่ก็อาจติดเชื้ อจากลูกที่ป่วยได้

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) และศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่ งสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้ให้คำแนะนำแนวทางสำหรั บครอบครัวที่มีลูกเล็กในการป้ องกันการแพร่เซื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่ก่อโรค COVID-19 จากเด็กที่ติดเชื้อไปสู่บุคคลอื่ นไว้ ดังนี้

การดูแลและล้างมือให้สะอาดอยู่ เสมอ (Keep your Hands Clean)

• สอนเด็กให้รู้จักล้างมืออย่างถู กต้องตามมาตรฐาน 7 ขั้นตอน

• หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธี นานอย่างน้อย 20 วินาที หรือใช้แอลกอฮอล์ล้างมือที่มี ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำ กว่า 70%

• ปฏิบัติตัวให้ถูกสุขลักษณะ ไอ/จามต้องปิดปากและจมูกด้ วยการงอศอก หรือใช้กระดาษชำระปิด จากนั้นนำไปทิ้งในที่ที่เหมาะสม และล้างมืออีกครั้งเพื่ อทำความสะอาด

• หลีกเลี่ยงการเอามือสัมผัสบริ เวณ ตา จมูก ปาก

• ให้เด็กล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทั นทีที่กลับเข้าบ้าน หลังใช้ห้องสุขา และก่อนรับประทานอาหาร รวมถึงพ่อแม่ต้องดู แลความสะอาดก่อนจัดเตรี ยมอาหารด้วย
การเว้นระยะห่าง (Practice Social Distancing)

• หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุ คคลอื่นในบ้าน ทั้งเด็กและสมาชิกในบ้าน

• ให้เว้นระยะห่าง 6 ฟุตหรือ 1 เมตร กับบุคคลอื่นที่ไม่ได้อยู่ในบ้ าน

• กรณีมีเด็กคนอื่นมาที่บ้าน ควรให้เด็กเล่นกันนอกบ้าน และเว้นระยะห่าง 6 ฟุต

• หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการใช้ ของเล่นหรืออุปกรณ์ร่วมกัน เช่น ลูกฟุตบอล บาสเกตบอล ฯลฯ

การทำความสะอาดและฆ่าเชื้ อภายในบ้าน (Clean and Disinfected your Home)

ใช้สบู่กับน้ำสะอาด หรือแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้ นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70% หรือน้ำยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ เช่น น้ำยาซักผ้าขาวที่มีส่วนผสมของ Sodium Hypochlorite โดยผสมกับน้ำในอัตราส่วนที่ถู กต้อง เช็ดทำความสะอาดบริเวณดังต่ อไปนี้

• พื้นผิวบริเวณที่มีการใช้ร่วมกั นทุกวัน และบริเวณที่มีการสัมผัสบ่อย เช่น ผ้าปูโต๊ะ ลูกบิดประตู มือจับประตู เก้าอี้ สวิตช์ไฟ รีโมตคอนโทรล เครื่องใช้ไฟฟ้า หน้าต่าง โต๊ะ ห้องน้ำ อ่างล้างมือ เป็นต้น

• บริเวณที่สกปรกได้ง่าย เช่น โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อม โต๊ะอาหาร

• พื้นผิวบริเวณที่เด็กสัมผัสบ่ อยๆ เช่น ขอบเตียงนอน โต๊ะวางของเล่น หรือของเล่นต่างๆ โดยเฉพาะของเล่นเด็กชนิดที่เด็ กอาจหยิบใส่ปากได้ ให้ทำความสะอาดโดยใช้สบู่และน้ำ สะอาด และระวังอย่าให้มีคราบสบู่ตกค้ าง

ในกรณีที่จำเป็นจะต้องดูแลเด็ กที่ติดเชื้อ COVID-19 ให้พ่อแม่ผู้ปกครองล้างมือทุ กครั้งหลังจับต้องสิ่ งของและของเล่นที่เด็กใช้ รวมถึงหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือผ้ าปูเตียงเด็ก เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อ และควรรักษาระยะห่าง ใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ

การสวมใส่หน้ากากอนามัย (Wear Face Mask)

• แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ งเมื่อออกนอกบ้าน หรือไปในที่สาธารณะ หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดบุ คคลอื่น

• แนะนำให้เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไปสวมหน้ากากอนามัย เมื่อต้องอยู่ท่ามกลางบุคคลอื่ นที่ไม่ใช่คนในครอบครัว

• ไม่แนะนำให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ หรือเด็กที่มีปัญหาด้านการหายใจ รวมถึงเด็กที่อยู่ในสภาพที่ ถอดหน้ากากเองไม่ได้ สวมหน้ากากอนามัย เนื่องจากระบบทางเดิ นหายใจของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่  เด็กอาจขาดออกซิเจนและเป็นอั นตรายได้ ควรใช้การเว้นระยะห่างอย่างต่ำ 2 เมตร หรือเอาผ้าคลุมรถเข็นที่มีเด็ กนอนอยู่แทน

ที่สำคัญที่สุดคือ ควรพาเด็กไปรับการตรวจสุ ขภาพและรับวัคซีนตามนัด โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ โดยเลือกรับบริ การเฉพาะสถานพยาบาลที่แยกบริ เวณเด็กป่วยกับเด็กไม่ป่ วยออกจากกัน ไม่ให้ปะปนกันอย่างชัดเจน

สุดท้ายนี้ พ่อ แม่ ผู้ใหญ่ในบ้านควรปฏิบัติ ตามมาตรการป้องกันโรค COVID-19 เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กๆ สามารถทำตามได้

บทความโดย : ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ. เสน่ห์ เจียสกุล กุมารแพทย์ด้านโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช ศรีนครินทร์ 
 
 
 

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy