แม่และเด็ก อุ้มลูกบ่อยๆ… จะทำให้ติดมือจริงหรือ?

2442 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แม่และเด็ก อุ้มลูกบ่อยๆ… จะทำให้ติดมือจริงหรือ?

 แม่และเด็ก อุ้มลูกบ่อยๆ… จะทำให้ติดมือจริงหรือ?

อุ้มลูกบ่อยๆ… จะทำให้ติดมือจริงหรือ?


 คุณแม่มือใหม่อาจจะยังกล้าๆ กลัวๆ ว่าจะอุ้มลูกทุกครั้งที่ร้องดี หรือเปล่า เพราะผู้ใหญ่อาจจะติงมาว่ากลั วอุ้มแล้วจะทำให้เด็กมีอาการติดมือ และอาจจะทำให้ต้องอุ้มไปจนโต เรื่องนี้เรามีคำตอบมาฝาก


 ทำไม “ลูก” ถึงรู้สึกอยากให้ “อุ้ม”


 นั่นเพราะส่วนหนึ่งคือเด็กเล็กยังเคยชินกับการอยู่ในท้องคุณแม่ที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา ในถุงน้ำคร่ำและเด็กรู้สึกอุ่น ๆ เวลาที่อยู่ในมดลูกทั้งยังได้ยิ นเสียงการเต้นของหัวใจคุณแม่ พอคลอดออกมาใหม่ๆ ต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ต่างไปจากเดิม ทำให้เด็กรู้สึกไม่ปลอดภัย เด็กจึงมักร้องไห้เพราะนึกกลัว บ่อยครั้งที่การอุ้มทำให้เสี ยงร้องไห้เงียบลงได้ เพราะเด็กรู้สึกว่าได้รั บความอบอุ่นเมื่ออยู่ในอ้ อมอกแม่ ได้เสียงหัวใจของแม่ ทำให้เด็กรู้สึกคุ้ นเคยและปลอดภัย โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรกจึงเป็นช่วงที่เด็กยังต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ และทำให้เด็กอยากให้คุณแม่อุ้มบ่อยๆ นั่นเอง


 อุ้มแค่ไหน…ถึงเรียกว่า “พอดี”


มีผลการวิจัยบอกว่าช่วงเด็ กทารกวัยตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน จะเป็นวัยที่หากเขาต้องการสื่ อสารอะไรกับคนอื่นก็จะใช้วิธี การร้องไห้เท่านั้น ซึ่งเมื่อร้องไห้คุณแม่หรือคนเลี้ยงส่วนใหญ่ก็จะเดินเข้ าไปอุ้ม ซึ่งจริงๆ การอุ้มเด็กในวัยนี้ยังไม่เป็นการตามใจจนทำให้เขาติดมือได้ แต่ความจริงคือการอุ้มยังเป็ นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ทำให้เด็กรู้สึกผูกพันกับคุณแม่ หรือคนที่เลี้ยงได้เป็นอย่างดี ทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่นใจว่ามี คนคอยดูแลเขา ทำให้เขาหายกลัวหายกังวล และเมื่อเขารู้สึกเช่นนี้พออายุ มากขึ้นเขาก็จะร้องไห้น้ อยลงไปเรื่อยๆ และทำให้เขาเป็นเด็กที่มีสุขภาพจิตดีไม่เรียกร้ องความสนใจจากพ่อแม่ หรือคนเลี้ยงจนเกินไป เพราะฉะนั้นการอุ้มเด็กในวัยนี้ ยังไม่ทำให้เกิดอาการติดมือ


 โคลิก…อาการของเด็กแรกเกิด


 ยังมีอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กร้องไห้ตลอดเวลา นั่นคือ อาจจะร้องโคลิกซึ่งส่วนใหญ่จะร้ องตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 เดือนและมักจะร้องไห้เป็นเวลาเดิม ๆ ทุกวันเช่นทุกสองทุ่มในเวลากลางคืนทุกหกโมงเย็น ซึ่งช่วงนี้อาจจะต้องใช้ ความอดทนมากสักหน่อย เข้าใจเด็กให้มากว่าเป็นเพราะสาเหตุอะไร หากอุ้มแล้วเหนื่อยก็สามารถพักวางได้บ้าง หรือฝากคุณพ่อพี่เลี้ยงคุณปู่คุ ณย่าไว้สักพักเดี๋ยวค่อยกลับมาอุ้มใหม่ ก็จะทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่นว่าอย่างน้อยๆ ก็มีใครอยู่กับเขาในเวลานั้น


 แต่หากเป็นการร้องไห้ด้วยสาเหตุ อื่น เช่น ปวดท้อง หิวนม แพมเพอร์สเลอะเทอะ ปวดฟันที่กำลังจะขึ้น หรือเด็กบางคนอาจจะฝันร้ ายในเวลากลางคืน แล้วร้องไห้โดยที่ไม่ลืมตา เป็นต้น หากแก้ที่สาเหตุแล้ว เด็กอาจจะไม่ได้เรียกร้องให้คุณแม่ต้องอุ้มตลอดเวลาก็ได้ ทั้งนี้ให้หมั่นสังเกตบ่อยๆ เราจะรับทราบได้เองว่าลูกร้องแบบมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่


 ขอบคุณบทความจาก
ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลเปาโล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้