ทำไมเด็กรุ่นใหม่ไม่ได้ "ปลูกฝี" และเสี่ยงต่อโรค "ฝีดาษลิง" มากกว่ากลุ่มอื่น

1999 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำไมเด็กรุ่นใหม่ไม่ได้ "ปลูกฝี" และเสี่ยงต่อโรค "ฝีดาษลิง" มากกว่ากลุ่มอื่น

 ทำไมเด็กรุ่นใหม่ไม่ได้ "ปลูกฝี" และเสี่ยงต่อ "ฝีดาษลิง" มากกว่ากลุ่มอื่น

ย้อนมองประวัติศาสตร์ของการ "ปลูกฝี" เมื่อ "ฝีดาษลิง" กลับมาระบาดอีกครั้ง พร้อมไขข้องใจทำไมกลุ่มคนรุ่ นใหม่ถึงไม่ได้ "ปลูกฝี" เพื่อป้องกัน และมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อมากกว่า


 "ฝีดาษลิง" หรือ "โรคฝีดาษลิง" กลับมาระบาดอีกครั้งในรอบมากกว่ า 20 ปี โดยพบการระบาดแถบแอฟริ กากลางและแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ แคเมอรูน สาธารณรัฐแอฟริกากลาง คองโก กาบอง ไลบีเรีย ไนจีเรีย และเซียร์ราลีโอน ก่อนจะพบผู้ป่วยนอกเขตแอฟริกา เช่น สหรัฐอเมริกา โปรตุเกส สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร อิตาลี แคนาดา ออสเตรเลีย ฯลฯ
ทำให้หลายประเทศในโลกต้องกลั บมาเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิงอีกครั้ง ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่ ยังไม่คลี่คลาย


 แม้ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่า ยังไม่มีการพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในไทย อย่างไรก็ ตาม โรคฝีดาษลิง ก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่ควรให้ ความสนใจและเฝ้าระวัง เพราะเป็ นโรคติดต่อที่ นอกจากจะสามารถแพร่จากสัตว์สู่ คนได้แล้วยังแพร่จากคนสู่คนได้ อีกด้วย


 ฝีดาษลิง ไม่ได้มีแค่ใน "ลิง" 


 ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ระบุว่า ฝีดาษลิง เกิดจากไวรัสไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus  เช่นเดียวกับไวรัสอีกหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดฝีดาษในคนหรื อไข้ทรพิษ (variola virus) ไวรัสที่นำมาผลิตวัคซีนป้องกั นฝีดาษในคน (vaccinia virus) และฝีดาษวัว (cowpox virus)


 ซึ่งเชื้อไวรัสฝีดาษลิงที่ว่านี้  พบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า ฯลฯ และที่สำคัญ คือ


 คนสามารถติดโรคได้ ทั้งแบบจากสัตว์สู่คน และจากคนสู่คน 


ผู้ป่วยส่วนใหญ่ จะหายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบใน "เด็ก" ซึ่งในประเทศแอฟริกาพบอั ตราการเสียชีวิตประมาณ 10%


การ "ปลูกฝี" เพื่อป้องกัน "ฝีดาษ" หรือ "ไข้ทรพิษ" 


อย่างที่กล่าวไปตอนต้นว่า "ฝี ดาษลิง" จัดอยู่ในกลุ่ม Orthopoxvirus ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับ "ไข้ทรพิษ" ซึ่งปัจจุบันองค์การอนามัยโลก ( WHO) ประกาศว่า หมดไปจากโลกเราแล้ว


โดยเมื่อในอดีต ไข้ทรพิษ เคยสร้างความรุ นแรงจากการระบาดในทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย สำหรั บสถานการณ์ในไทย ไข้ทรพิษ ปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา  ช่วงปี พ.ศ.2460-2504 มีไข้ทรพิษเกิดขึ้นทุกปี โดยมีการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดช่ วงที่เกิดสงครามราวปี พ.ศ. 2488-2489 มีผู้ป่วยมากกว่าครึ่งแสน และเสียชีวิตหลักหมื่นรายในปี เดียว


ในปี พ.ศ. 2540 กระทรวงสาธารณสุขจึงเริ่ มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษ ด้วยวิธี "ปลูกฝี" หรือฉีด "วัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ" ซึ่งสามารถป้องกันไข้ทรพิษได้  รวมยังสามารถป้องกันโรค "ฝีดาษลิง" ได้ราว 85% อีกด้วย


 ทำไมเด็กรุ่นใหม่ถึงไม่ได้ "ปลูกฝี" 


อย่างไรก็ตาม แม้ครั้งหนึ่งการปลูกฝีจะเป็ นเรื่องธรรมดา ที่ประชากรโลก รวมถึงประชากรไทย ต้องได้รับการปลูกฝีกันแทบทั้ งสิ้น แต่ภายหลังจากปี พ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่าไข้ทรพิษถูกกวาดล้ างหมดไปจากโลกแล้ว ไทยเราก็เริ่ มทยอยหยุดปลูกฝีตั้งแต่นั้นเป็ นต้นมา


ทำให้ เด็กที่เกิดหลังปี 2523 ส่วนใหญ่จะไม่เคยได้รับการฉีดวั คซีนไข้ทรพิษ หรือ ถูกปลูกฝี จึงนับเป็นกลุ่มที่ เสี่ยงต่อโรคฝีดาษลิงมากกว่ าประชากรกลุ่มอื่นๆ นั่นเอง


 ขอบคุณแหล่งข่าวจาก : สำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ
วันอังคาร ที่ 24 พฤษภาคม 2565

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้