พัฒนาการของทารกวัย 1 เดือน

2445 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พัฒนาการของทารกวัย 1 เดือน

 พัฒนาการของทารกวัย 1 เดือน
ทารกแต่ละช่วงวัย จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันไปอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งพัฒนาการในทารกแรกเกิด จะเห็นได้ในระยะเวลาอันสั้น กล่าวคือ สามารถแบ่งพัฒนาการของทารก ออกมาเป็นช่วงวัยสั้นๆ คือ แรกเกิด, 1 เดือน, 2 เดือน หรือ 3 เดือน ได้เลยทีเดียว เรามาดูพัฒนาการด้านต่างๆของทารก วัย 1 เดือนกันค่ะ

  น้ำหนักและส่วนสูง พัฒนาการของลูกน้อย 1 เดือน

น้ำหนักของทารกชาย 1 เดือนจะอยู่ที่ประมาณ 3.5 - 5 กิโลกรัม และมีพัฒนาการส่วนสูงประมาณ 50 - 57 เซ็นติเมตร และทารกหญิง 1 เดือนจะมีน้ำหนักประมาณ 3 - 4.5 กิโลกรัม และสูงประมาณ 49 - 57 เซ็นติเมตร (สำหรับเด็กแรกเกิดชาย จะมีน้ำหนักประมาณ 2.8 - 3.9 และหญิง 2.7 - 3.7)

  การมองเห็นของเด็ก 1 เดือน

เด็กวัย 1 เดือนจะมองเห็นได้ชัดเมื่อวัตถุ เข้าใกล้ประมาณ 8-10 นิ้วค่ะ ไม่ไกลมาก แต่สามารถมองตามใบหน้าคุณพ่อคุ ณแม่ หรือชำเลืองมองสิ่งต่างๆ รอบตัวไปมา จากบนลงล่าง โดยสามารถมองวัตถุได้ถึงกึ่ งกลางลำตัว คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยจั ดสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวลูกให้เอื้อต่อการกระตุ้นพั ฒนากการการมองเห็น เช่น การแขวนโมบายไว้หน้าเปลนอนลูก หรือเคลื่อนไหวของเล่นที่มีสีสั นสดใสเพื่อให้ลูกสนใจ โดยมีระยะห่างประมาณ 1 ไม้บรรทัด โดยค่อยๆ เคลื่อนของเล่นจากข้างหนึ่งไปอี กข้างหนึ่ง และสังเกตการมองตาม เป็นต้น

 พัฒนาการของลูกน้อย ทางร่างกายของเด็ก 1 เดือน

พัฒนาการของเด็กแรกเกิดถึง 1 เดือน จะสามารถเคลื่อนไหวมือ แขน และขาทั้ง 2 ข้างได้ แต่ยังไม่สามารถพยุงศีรษะให้ตั้ งตรงเองได้ สามารถดูดปากตัวเองเสียงดังจุ๊ บจั๊บ และทำหน้าเหยเกได้ สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยกระตุ้ น พัฒนาการทางร่างกายของทารกวัย 1 เดือน คือ การโอบกอด สัมผัส และอุ้มเด็กบ่อยๆ เพื่อให้ลูกน้อยสัมผัสถึ งความอบอุ่น เชื่อมั่น เวลาอุ้มควรสบตา ยิ้มและพูดคุย หรือร้องเพลงให้ลูกฟังระหว่ างให้นมแม่ แสดงความดีใจ ชมเชย เมื่อเด็กมีการตอบสนองต่ อการกระตุ้นต่างๆ ควรออกกำลังกายแขนขา โดยการให้ลูกนอนหงาย และจับขาขึ้น ลง งอ หรือเหยียด

  พัฒนาการของลูกน้อย ในด้านสติปัญญา

เด็กจากวัย 0 ถึง 1 เดือน จะมีพัฒนาการการเรียนรู้อย่ างเป็นขั้นตอน สมองและระบบประสาทกำลังเชื่อมต่ อได้ดีขึ้นเรื่อยๆ และรู้จักวิธีการปฏิบัติตัวกลั บบ้างในบางครั้ง เช่น ขยับร่างกายให้แม่อุ้มได้ง่ายขึ้ น เป็นต้น สิ่งสำคัญของการพัฒนาสมองคือ การกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมค่ะ

  พัฒนาการของลูกน้อย ทางอารมณ์และจิตใจ

เด็ก 1 เดือนอาจทำสีหน้าพอใจเมื่อรู้สึ กไม่สบาย หรือทำสีหน้าเหยเกเมื่อรู้สึ กเจ็บ ซึ่งหากได้สบตาคุณพ่อคุณแม่หรื อคนคุ้นเคย จะมีอารมณ์ดีขึ้น ทั้งนี้ลูกจะเริ่มจำเสียงพ่อแม่ ได้แล้ว พร้อมกับสามารถปรับท่าทางตั วเองให้เหมาะกับการอุ้มของคุณพ่ อคุณแม่ด้วยค่ะ ความสุข ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อพั ฒนาการลูกค่ะ เพราะแม้ว่าลูกจะมีอายุได้แค่ เดือนเดียว แต่เขาก็สามารถรับคลื่นความเครี ยดจากคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว ถ้าคุณพ่อคุณแม่เริ่มเครียด ลูกจะรับรู้ได้ทันทีและจะร้ องให้งอแงอย่างไม่มีเหตุผล แต่หากคุณพ่อคุณแม่เข้าหาลูกด้ วยท่าทีอารมณ์ดี ลูกก็จะเป็นเด็กที่แจ่มใส โยเยน้อยกว่าค่ะ

  พัฒนาการของลูกน้อย ทางภาษา

ทารกน้อยวัยแรกเกิดถึงวัย 1 เดือนจะมีการสะดุ้งหรือเคลื่ อนไหว หรือสื่อสารด้วยการร้องไห้ เมื่อหิว หรือไม่สบายตัวเพราะปัสสาวะเปี ยก แฉะ เป็นต้น ที่สำคัญลูกสามารถจดจำเสี ยงของคุณพ่อคุณแม่ และคนในครอบครัวได้แล้ว การส่งเสริมพัฒนาการลูก คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นยิ้ม พูดคุย และเรียกชื่อลูกบ่อยๆ นะคะ

 พัฒนาการเรื่องของผิวพรรณ

ทารกน้อนวัย 1 เดือน ผิวจะมีการปรับตัวดีขึ้นจากวั ยแรกเกิด ปัญหาเกี่ยวกับผิวแห้ง ผิวลอก หรือไขบนหนังศีรษะ แทบจะไม่ค่อยมีในวัย 1 เดือน แต่จะยังพบเห็นปัญหาผิวเกี่ยวกั บ ผดร้อน ผื่นผ้าอ้อม ที่ยังต้องใช้เวลาในการปรับตั วของรูขุมขน ให้กว้างขึ้น และสามารถขับเหงื่อได้ดีขึ้น

    เคล็ดลับส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อย 1 เดือน

 มองตาลูก สื่อสารกับลูกด้ วยการมองตาบ่อยๆ ถ้าลูกน้อยมองมาที่คุณ ให้มองกลับไป เพราะนี่เป็นสิ่งสำคัญในการสร้ างสัมพันธ์กับลูกของคุณ จนกว่าลูกน้อยของคุ ณจะมองไปทางอื่น ซึ่งแสดงว่าลูกหันไปสนใจเรื่ องอื่นแทน หรือต้องการนอนแล้ว

 ยิ้มให้ลูกบ่อยๆ เมื่อลูกน้ อยเห็นคุณยิ้มแย้มให้ ลูกคุณจะรู้สึกดี และปลอดภัยโดยธรรมชาติของร่ างกาย และยังสร้างใยสัมพันธ์ให้คุณกั บลูกอีกด้วย

 ใช้เวลากับลูก การใช้เวลาอยู่ด้ วยกัน การเล่นกันกับลูกน้อยแรกเกิด การโอบกอด อุ้ม สัมผัส พูดคุย ร้องเพลงให้ฟัง สื่อสารด้วยมือ ด้วยหน้าตายิ้มแย้ม นอกจากจะช่วยสร้างใยสัมพันธ์อั นดีกับพ่อและแม่แล้ว ยังจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็ กแรกเกิด ไม่ว่าจะด้านร่างกาย ภาษาและการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้ นด้วย

ข้อมูลอ้างอิงจาก
https://www.s-momclub.com/ articles/baby 


 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้