ให้ลูกกินนมแม่ถึงกี่เดือนดี

1705 Views  | 

ให้ลูกกินนมแม่ถึงกี่เดือนดี

 ให้ลูกกินนมแม่ถึงกี่เดือนดี


ตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ว่าเด็กทารกแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 6 เดือนแรก ควรกินนมแม่เป็นอาหารเพียงอย่างเดียว โดยยังไม่ต้องทานน้ำหรืออาหารเสริมอื่น ๆ เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารจากนมแม่ได้อย่างเต็มที่ และเพื่อป้องกันไม่ให้ทารกเกิดการแพ้อาหารในอนาคต

ตามธรรมชาติคุณแม่จะสามารถผลิตน้ำนมเลี้ยงลูกได้ จนระบบต่าง ๆ ของลูกพัฒนาเต็มที่ โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันโรค เนื่องจากเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ระบบภูมิต้านทานหรือภูมิคุ้มกันยังต่ำ หากต้องไปเจอสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษ หรือเจอบุคคลอื่น ๆ โอกาสที่จะรับเชื้อโรคก็เกิดขึ้นได้ แต่หากเด็กได้รับนมแม่ ในน้ำนมแม่จะมีสาร ภูมิคุ้มกันที่สำคัญซึ่ง ได้แก่ secretary IgA, เม็ดเลือดขาว, ไลโซไซม์ (lysozyme เอนไซม์ที่มี ฤทธิ์ย่อยสลายผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียทำให้เชื้อตาย), แลตโตเฟอริน (lactoferrin โปรตีนที่ ช่วยต่อต้านเชื้อโรค) และ bifidus growth factor (สารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของแล็กโตบาซิลัส ช่วยให้แบคทีเรียไม่สามารถอาศัยอยู่ในลำไส้ได้) ทำให้ร่างกายสามารถกำจัดเชื้อโรคได้

นอกจากนี้นมแม่ยังช่วยพัฒนาสมองของลูก เนื่องจากสมองของเด็ก พัฒนามาแค่ 30% และยังขาดการเชื่อมต่อของเส้นใยประสาท และปลอกหุ้มเส้นใยประสาท ซึ่งต้องอาศัยสาร DHA ซึ่งมีอยู่ในนมแม่

 หมอไขข้อข้องใจ นมแม่ดีอย่างไร

ความต้องการนมแม่ของทารกแรกเกิด
**ช่วงแรกเกิดถึง 6 เดือนแรก คุณแม่ควรให้ลูกทานนมแม่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากระยะนี้ระบบการย่อยอาหารของลูกยังเติบโตไม่เต็มที่ จึงย่อยอาหารอื่นได้ไม่ดี นมแม่ย่อยง่ายที่สุด เพราะประกอบด้วยโปรตีนและสารอาหารที่ย่อยง่ายตามธรรมชาติ จึงเหมาะกับระบบทางเดินอาหารอันเปราะบางของลูกน้อย นอกจากนี้ในช่วงอายุนี้กระเพาะอาหารของลูกยังมีขนาดเล็ก และมีความแถมยืดหยุ่นได้ไม่มาก การให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวจึงดีและปลอดภัยต่อลูกที่สุด

 เมนูอาหารลูกน้อยวัย 7 เดือนควรมีอะไรบ้าง

ในช่วงทารกอายุถึง 7 เดือน สามารถที่จะทานอาหารได้บ้างแล้วโดยให้เน้นเมนูอาหารที่มีส่วนประกอบของ ข้าว ไข่ และเนื้อสัตว์ โดยต้องบดให้ละเอียดเพื่อให้ลูกน้อยได้ทานอย่างสะดวกเพราะการพัฒนาการด้านการทานอาหารของลูกรักในวัยนี้ยังไม่พัฒนาได้เต็มที่ และทานควบคู่กับนมแม่

 เมนูลูกรักวัย 9 เดือนเป็นต้นไป เด็กทานอะไรได้บ้าง

เมื่อลูกน้อยมาถึงวัย 9 เดือน เริ่มมีพัฒนาการสำหรับการทานอาหารที่ดีขึ้น เมนูสำหรับเด็กวัยนี้ก็สามารถเป็นอาหารที่สามารถพอที่จะให้ลูกเคี้ยวบ้างได้แล้ว เช่น  ข้าวหรือแป้ง ขนมปัง ผัก ผลไม้ โปรตีนที่มีเนื้อนุ่ม เช่น ปลา เต้าหู้ เป็นต้น คุณแม่ควรเลือกหรือเตรียมอาหารที่นิ่ม ๆ ที่ง่ายต่อการเคี้ยวของลูก ควบคู่กับการให้นมแม่

นอกจากนี้คุณแม่ควรเลือกแหล่งอาหารที่หลากหลาย และไม่ควรให้ลูกทานแต่อาหารชนิดเดิมซ้ำๆ และควรสังเกตุอาการของลูกด้วย เพราะอาหารบางอย่างอาจย่อยยาก หรือเด็กบางคนอาจจะแพ้อาหารบางประเภท

 ควรให้ลูกกินนมแม่ ถึงเมื่อไหร่ดี

เพื่อให้ลูกมีพัฒนาการทั้งด้านร่างกายและสมองอย่างเต็มที่ คุณแม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ถึงอายุ 6-7 ปี โดยตั้งแต่ 7 เดือนเป็นต้นไปคุณแม่สามารถให้ลูกทานอาหารอื่นควบคู่ไปกับนมแม่ได้

 ปริมาณการให้นมในแต่ละช่วงอายุ

• ลูกอายุ 0 – 30 วัน
ปริมาณน้ำนมที่เด็กต้องการ=  [ น้ำหนักของลูกเป็นกิโลกรัม x 150  ] ÷ 30 = ปริมาณนมเป็นออนซ์ / วัน (แบ่ง 6 มื้อ)
** บวกลบ ได้ไม่เกิน 4 ออนซ์ และแบ่งมื้อนมออกเป็น 6 – 8 มื้อ / วัน

• ลูกอายุ 1 – 6 เดือน
ปริมาณน้ำนมที่เด็กต้องการ=  [ น้ำหนักของลูกเป็นกิโลกรัม x 120 ] ÷ 30 = ปริมาณนมเป็นออนซ์ / วัน (แบ่ง 6-8 มื้อ)

• ลูกอายุ 6 – 12 เดือน
ปริมาณน้ำนมที่เด็กต้องการ= [ น้ำหนักของลูกเป็นกิโลกรัม x 110 ] ÷ 30 = ปริมาณนมเป็นออนซ์ / วัน

• เด็ก 6 เดือน แบ่งมื้อนมเป็น 5 – 6 มื้อ + ข้าว 1 มื้อ

• เด็ก 9 – 11 เดือน แบ่งมื้อนมเป็น 4 – 5 มื้อ + ข้าว 2 มื้อ

• เด็ก 12 เดือน แบ่งม้ือนมเป็น 4 – 5 มื้อ + ข้าว 3 มื้อ

• เด็กอายุมากกว่า 12 เดือนขึ้นไป ส่วนใหญ่จะทานอาหารเป็นหลัก คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้ดื่มนมมากจนเกินไป เพราะจะทำให้กินข้าวน้อยนั้นเอง นมจะกลายเป็นเพียงอาหารเสริมสำหรับเด็กช่วงอายุนี้ ซึ่งช่วงนี้เด็กๆ ควรจะได้รับแคลเซียมวันละ 500 มิลิกรัม ถ้าเทียบเท่ากับนมปริมาณ 500 ซีซี

 

 ขอบคุณข้อมูลโดย  คลินิกกุมารเวช รพ. วิชัยเวชฯ อ้อมน้อย

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy