ชั่วโมงแรกหลังคลอด: อะไรเวิร์ก อะไรไม่เวิร์ก?

1783 Views  | 

ชั่วโมงแรกหลังคลอด: อะไรเวิร์ก อะไรไม่เวิร์ก?


 
 
 
ชั่วโมงแรกหลังคลอด: อะไรเวิร์ก อะไรไม่เวิร์ก?

อะไรคือสิ่งจำเป็นในการสร้ างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนต่ อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ แรกเกิดและต่อเนื่อง


ไม่ว่าการคลอดจะเกิดขึ้นที่ใด จะเป็นที่กระท่อมหลังน้อยๆ ณ หมู่บ้านในชนบทแห่งหนึ่ง หรือจะเป็นโรงพยาบาลในเมื องขนาดใหญ่ การให้เด็กน้อยที่เพิ่งลืมตาดู โลกได้กินนมแม่ภายในหนึ่งชั่ วโมงแรกหลังคลอดเป็นการช่วยให้ พวกเขาได้มีโอกาสที่ดีเยี่ ยมในการที่จะได้มีชีวิตอยู่รอด เติบโต และได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ


องค์การยูนิเซฟ และ องค์การอนามัยโลก แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพี ยงอย่างเดียวในช่วงหกเดื อนแรกของชีวิต ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่ชั่ วโมงแรกหลังคลอดเลยทีเดียว การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่ างเดียว โดยไม่จำเป็นต้องให้อาหารอื่ นใดควบคู่เลย ในระยะเวลาหกเดือนแรกนั้น ช่วยเสริมพัฒนาการทั้งด้ านประสาทการรับรู้และการรู้คิด อีกทั้งยังช่วยปกป้องลูกน้ อยจากการติดเชื้อต่างๆ อีกด้วย


แต่เรื่องนี้ไม่ใช่อะไรที่ เราจะคาดหวังให้คุณแม่ทำเพี ยงลำพัง การให้เด็กได้กินนมแม่โดยเร็ วและได้กินนมแม่เพียงอย่างเดี ยวในช่วงหกเดือนแรกของชีวิต ต้องการการสนับสนุนจากหลายภาคส่ วน ตั้งแต่ที่โรงพยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ภาครัฐ รวมไปถึงภายในครอบครัวด้วย และเมื่อเราพูดถึงเรื่องการให้ นมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรกหลั งคลอดแล้ว ต่อไปนี้คือสิ่งที่เวิร์ก และไม่เวิร์ก
 


สิ่งที่เวิร์ก: ให้ทารกน้อยได้รับการสัมผั สแบบเนื้อแนบเนื้อโดยทันทีหลั งคลอด


การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อช่ วยปรับอุณหภูมิร่ างกายของทารกแรกเกิดให้คงที่ และให้โอกาสทารกน้อยได้รับแบคที เรียที่เป็นประโยชน์จากผิวหนั งของคุณแม่ แบคทีเรียดีเหล่านี้ช่วยปกป้ องทารกน้อยจากการติดเชื้อ และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกั นโรคให้พวกเขา


การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อทันที หลังคลอดไปจนถึงตอนให้นมเป็นครั้ งแรกยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมาก มีข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่ามันช่ วยเพิ่มโอกาสที่ทารกน้อยจะได้กิ นนมแม่ ช่วยให้ระยะเวลาในการเลี้ยงลู กด้วยนมยาวนานขึ้น และช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลู กด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว


สิ่งที่ไม่เวิร์ก: การให้ทารกน้อยทานอาหารเสริมหรื อนมชง


การให้ทารกน้อยได้ทานอาหารเสริ มอื่นใดนอกเหนือไปจากนมแม่ในวั นแรกๆ หลังคลอด เป็นเรื่องปกติของหลายๆ พื้นที่บนโลกใบนี้ และมักจะถูกนำไปเชื่อมโยงเข้ากั บวัฒนธรรม ธรรมเนียมปฏิบัติของครอบครัว นโยบายของโรงพยาบาล หรือระเบียบปฏิบัติอื่นใดที่ไม่ ได้มีพื้นฐานอ้างอิงทางวิ ทยาศาสตร์ โดยแนวปฏิบัติเหล่านี้มี ความแตกต่างกันออกไปตามแต่ ละประเทศ ซึ่งอาจรวมไปถึงการทิ้ง "นมเหลือง" หรือ คอลอสตรัม (Colostrum) ซึ่งเป็นน้ำนมแรกสุดจากคุณแม่ที่ อุดมไปด้วยสารภูมิคุ้มกัน หรือการให้คุณหมอหรือผู้อาวุ โสในครอบครัวให้อาหารบางอย่ างแก่ทารก เช่น นมชง น้ำผสมน้ำตาล หรือน้ำผึ้ง แนวปฏิบัติต่างๆ เหล่านี้ อาจทำให้สัมผัสแรกที่สำคัญระหว่ างคุณแม่และทารกน้อยต้องล่าช้ าออกไป


สิ่งที่เวิร์ก: การคลอดบุตรในโรงพยาบาลที่ส่ งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่


โรงพยาบาลหรือศูนย์อนามัยที่ "ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ " จะให้การสนับสนุนคุณแม่ที่ต้ องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยปฏิบัติตามบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลู กด้วยนมแม่ สถานพยาบาลเหล่านี้ จะให้คำปรึกษาแก่คุณแม่ที่ไม่ สามารถให้นมบุตรหรือตัดสินใจที่ จะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยการสอนให้พวกเขาใช้น้ำ นมจากผู้บริจาค หรือให้ได้ทานนมผงที่ปลอดภัย


ในบางประเทศ เช่น ศรีลังกา หรือ เติร์กเมนิสถาน โรงพยาบาลที่ส่งเสริมการเลี้ ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเครื่องมื อในการเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้ วยนมแม่ เกือบร้อยละ 90 ของผู้หญิงในประเทศเติร์กเมนิ สถาน และคุณแม่เกือบทุกคนในประเทศศรี ลังกา คลอดบุตรในโรงพยาบาลที่ได้รั บการรับรองว่าส่งเสริมการเลี้ ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้งสองประเทศต่างก็เลยมีอั ตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สูง


สิ่งที่ไม่เวิร์ก: การผ่าตัดคลอดโดยปราศจากการสนั บสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่


การคลอดบุตรด้วยวิธีผ่าตัดคลอด หรือ ซี-เซ็กชัน มีอัตราที่เพิ่มมากขึ้นทั่ วโลกในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และในหลายประเทศ อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่ วงหลังคลอดก็ต่ำลงไปอย่างมีนั ยสำคัญ อันเป็นผลมาจากการทำคลอดด้วยวิ ธีผ่าตัดคลอด


คุณแม่ที่คลอดบุตรด้วยวิธีผ่าตั ดคลอด จะต้องเผอิญกับความท้ าทายหลายประการหลังจากคลอดบุตร อาทิ ผลจากยาสลบ การฟื้นตัวจากการผ่าตัด ตลอดไปจนถึงการหาคนช่วยให้ สามารถอุ้มทารกน้อยได้อย่ างปลอดภัย แต่หากได้รับการสนับสนุนอย่ างเหมาะสม เช่น ให้การอบรมแก่ผู้ทำคลอด การวางนโยบายการเลี้ยงลูกด้ วยนมแม่ในแผนกสูติกรรม การให้คุณพ่อได้มีส่วนร่ วมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เด็กที่เกิดจากวิธีผ่าตัดคลอดส่ วนใหญ่จะสามารถได้กินแม่ภายในชั่ วโมงแรกหลังคลอดได้


สิ่งที่เวิร์ก: ผู้ทำคลอดได้รับการฝึกอบรมเพื่ อให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้ วยนมแม่


ในประเทศรวันดา อัตราการคลอดบุตรโดยผู้ทำคลอดที่ มีทักษะความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้ นมากกว่าเท่าตัวนับตั้งแต่ พ.ศ. 2548 จนถึง พ.ศ. 2557 โดยทารกแรกเกิดเกือบทุกคนที่เกิ ดในสถานพยาบาลได้รับการช่วยเหลื อจากผู้ทำคลอดที่มีทักษะความเชี่ ยวชาญ ในช่วงเวลานี้ อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึ งเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคั ญตามไปด้วย ความคืบหน้าดังกล่าวเป็ นผลมาจากนโยบายใหม่ของรั ฐบาลในการสนับสนุนการเลี้ยงลู กด้วยนมแม่ภายในโรงพยาบาลต่างๆ


ปัจจุบัน ประเทศรวันดามีเจ้าหน้าที่สุ ขภาพชุมชนจำนวน 45,000 คน คอยให้คำปรึกษาแก่คุณแม่เกี่ ยวกับแนวปฏิบัติในการให้ อาหารและการคลอดที่ปลอดภัย และแม้ว่าอัตราการผ่าตั ดคลอดจะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตั วในช่วง พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2556 แต่ตัวเลขการเพิ่มดังกล่าวไม่ส่ งผลกระทบต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้ วยนมแม่ในช่วงหลังคลอด ทั้งนี้เป็นเพราะการที่เจ้าหน้ าที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่ างดีนั่นเอง


สิ่งที่ไม่เวิร์ก: แนวปฏิบัติที่ล้าสมัย


ในขณะที่ผู้ทำคลอดที่มีทั กษะความเชี่ยวชาญจะมีบทบาทสำคั ญยิ่งในการช่วยให้คุณแม่มือใหม่ ได้เลี้ยงทารกน้อยด้วยนมแม่ แต่พวกเขาอาจจะไม่ได้ทำเช่นนั้น ถ้าพวกเขาไม่ได้รับการฝึ กอบรมและตัวสถานพยาบาลเองมี แนวปฏิบัติที่ล้าสมัย เช่น การแยกคุณแม่และทารกแรกเกิ ดออกจากกันโดยไม่มีเหตุ ผลทางการแพทย์หรือให้ทารกแรกเกิ ดทานอาหารอื่น ก็จะกระทบต่ออัตราการเลี้ยงลู กด้วยนมแม่หลังคลอด


เมื่อ พ.ศ. 2549 ซึ่งมีเพียงร้อยละ 64 ของผู้หญิงในเวียดนามที่คลอดบุ ตรในสถานพยาบาล แต่ใน พ.ศ. 2557 ตัวเลขได้เพิ่มขึ้นมาเป็นร้อยละ 94 แต่ในขณะเดียวกัน อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลั งคลอดกลับลดลงเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ใน พ.ศ. 2557 กระทรวงสาธารณสุขได้อนุมัติ แนวทางการปฏิบัติมาตรฐานแห่ งชาติ ที่มุ่งเน้นไปที่การสัมผั สแบบเนื้อแนบเนื้อทันทีหลังคลอด และการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้ วยนมแม่ภายในชั่วโมงแรกหลังคลอด


การให้การสนับสนุนในทุกๆ ด้านที่คุณแม่ต้องการเพื่อเริ่ มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในชั่ วโมงแรกหลังคลอดให้ประโยชน์ในด้ านสุขภาพอย่างมหาศาล แต่เราไม่อาจจะหยุดแต่เพียงเท่ านี้ คุณแม่ควรได้รับอิสระในการเลี้ ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไปได้เรื่อยๆ ตามที่พวกเธอต้องการ เรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบร่ วมกันของพวกเราทุ กคนในการทำลายกำแพงใดๆ ที่จะเข้ามาเป็นอุปสรรคในการเลี ยงลูกด้วยนมแม่
 


สิ่งที่เวิร์ก: การให้ลาเพื่อครอบครัวแบบได้รั บค่าจ้าง


ผู้หญิงทำงานไม่ควรต้องเลื อกระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมกั บการทำงาน องค์การแรงงานระหว่ างประเทศแนะนำให้รัฐบาลประเทศต่ างๆ ให้สิทธิผู้หญิงในการลาคลอดบุ ตรโดยได้รับค่าจ้างเป็นเวลา 18 สัปดาห์ และให้แน่ใจว่าพวกเธอจะมี เวลาและพื้นที่ในการเลี้ยงลูกด้ วยนมแม่ภายหลังที่พวกเธอกลับเข้ าไปทำงาน ยูนิเซฟแนะนำให้ยึดแนวทางดังกล่ าวเป็นความต้องการขั้นต่ำ


สิ่งที่ไม่เวิร์ก: สถานที่ทำงานที่ไม่มีนโยบายที่ เป็นมิตรต่อการเลี้ยงลูกด้ วยนมแม่


เมื่อเหล่าคุณแม่กลับไปทำงาน พวกเธอต้องการการสนับสนุ นจากนายจ้างเพื่อที่จะสามารถเลี้ ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไปได้ สิทธิในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในที่ทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญอั นยิ่งยวดต่อผู้หญิงทุกคนที่ต้ องการเลี้ยงลูกของพวกเธอด้ วยนมแม่ต่อไป เช่นเดียวกับการจัดให้มี เวลาและพื้นที่เพียงพอสำหรั บการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือจัดให้มีพื้นที่สำหรับปั๊ มนมและเก็บนมแม่


บทความโดย : Unicef Thailand/ for every child

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy