1372 Views |
ปัญหาผิวทั่วไปของเด็กแรกเกิด
ผดมิเลีย
ลักษณะภายนอก:
• ปรากฏเป็นจุดสีขาวหรือสีเหลืองขนาดเล็กเท่ากับหัวเข็มและแบนเมื่อสัมผัส
• ส่วนใหญ่ขึ้นตามหน้าผาก แก้ม คาง และจมูกของทารก
• เมื่อตุ่มสีขาวขนาดเล็กเหล่านี้ ขึ้นที่เหงือกภายในช่ องปากของทารกแรกเกิด จะเรียกว่า "Epstein's pearl"
สาเหตุ:
• เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของต่อมผิ วหนังในเด็กที่ยังไม่เจริญเติ บโตเต็มที่
การดูแล:
• มักหายไปเองหลังคลอดสองถึงสามสั ปดาห์
• ไม่ต้องการการดูแลหรือการรั กษาเป็นพิเศษ (เช่น ใช้ครีม/ ขี้ผึ้ง)
• ห้ามบีบ
สิวในทารกแรกเกิด
ลักษณะภายนอก:
• ปรากฏเป็นตุ่มสีแดงขนาดเล็ก
• ส่วนใหญ่ขึ้นตามหน้าผากและแก้ มของทารก
• มักปรากฏหลังคลอดไม่กี่วันหรื อไม่กี่สัปดาห์
สาเหตุ:
• อาจเกิดจากฮอร์โมนของมารดาที่ส่ งผ่านรกในครรภ์ไปยังทารกขณะตั้งครรภ์
การดูแล:
• มักหายไปเองภายในสามเดือนหลั งคลอด
• ไม่ต้องการการดูแลหรือการรั กษาเป็นพิเศษ (เช่น ใช้ครีม/ ขี้ผึ้ง)
• ดูแลให้ผิวทารกสะอาดและแห้ งเสมอ
• ห้ามบีบ
ผื่นแพ้ในเด็กแรกเกิด
ลักษณะภายนอก:
• ปรากฏเป็นจุดสีเหลืองหรือสี ขาวขนาดเล็กเท่ากับหัวเข็มและมี จุดแดงรอบ ๆ
• ส่วนใหญ่ขึ้นตามแก้ม ลำตัว หลัง มือ และเท้าของทารก
• โดยปกติเกิดขึ้นหลังคลอดสองถึ งสามวัน
สาเหตุ:
• สาเหตุไม่แน่ชัด
การดูแล:
• มักหายไปเองหลังคลอดภายในไม่กี่ วันหรือไม่กี่สัปดาห์
• ไม่ต้องการการดูแลหรือการรั กษาเป็นพิเศษ (เช่น ใช้ครีม/ ขี้ผึ้ง)
• ห้ามบีบ
ผดร้อน/ผื่นคัน
ลักษณะภายนอก:
• ปรากฏเป็นจุดนูนสีแดงขนาดเล็ก
• ส่วนใหญ่ขึ้นตามคอ หลัง และอกของทารก
• มักขึ้นเมื่ออากาศร้อน แต่อาจปรากฏขึ้นแม้อากาศเย็ นหากทารกสวมเสื้อผ้าหลายชั้นหรื ออยู่ในห้องที่ร้อนเกิ นไปจนทำให้เหงื่อออกมาก
สาเหตุ:
• เกิดจากอาการระคายเคืองของผิ วเนื่องจากเหงื่อเมื่อทำให้ ทารกอุ่นเกินไป
การป้องกันและการดูแล:
• แต่งกายทารกด้วยเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมเพื่อให้ผิวทารกเย็นและแห้งเพื่อลดเหงื่อออก
• ทำความสะอาดผิวทารกด้วยน้ำ
• ปรึกษาแพทย์หากไม่มีอาการดีขึ้นหรือมีภาวะรุนแรง
ผื่นผ้าอ้อม
ลักษณะภายนอก:
• เริ่มแรกเป็นจุดสีแดงและพั ฒนาเป็นผื่นสีแดงขนาดเล็ก
• ส่วนใหญ่ขึ้นตามบริเวณที่สวมผ้ าอ้อม เช่น อวัยวะเพศหญิงภายนอก ผิวระหว่างอวัยวะเพศและทวาร บั้นท้าย หน้าท้องส่วนล่าง และขาอ่อนช่วงบน
สาเหตุ:
• ปรากฏเมื่อผิวทารกไดรั บการระคายเคืองจากปัสสาวะและอุ จจาระ
การป้องกันและการดูแล:
• เปลี่ยนผ้าอ้อมทารกบ่อยครั้งเพื่อให้บั้นท้ายสะอาดและแห้ง
• ใช้น้ำอุ่นพอสมควรทำความสะอาดบั้นท้ายทารก ใช้สบู่ / เจลอาบน้ำหากจำเป็น เช่น เมื่อเปื้อนอุจจาระ หลีกเลี่ยงการใช้ผ้ าทำความสะอาดสำหรับเด็กในการลดอาการระคายเคืองผิว
• ผึ่งผิวทารกให้แห้งทั้งหมดก่อนสวมใส่ผ้าอ้อมสะอาด สามารถทาครีมที่ให้ความชุ่มชื้ นบาง ๆ ได้เพื่อไม้ให้สิ่งขับถ่ายสัมผั สกับผิวโดยตรง ใช้ครีมป้องกันผิว เช่น ครีมซิงค์ออกไซด์เพื่อสร้างชั้ นป้องกันบนผิวเปลือยสีแดง
• ห้ามใช้แป้งเด็ก แป้งจะผสมกับปัสสาวะหรือเหงื่อในการสร้างสิวและทำให้อาการแย่ลง
• ปรึกษาแพทย์หากไม่มีอาการดีขึ้ นหรือหากมีภาวะรุนแรง
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง/โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในวัยทารก
ลักษณะภายนอก:
• ผิวแดงและแห้ง บางครั้งอาจปรากฏแผลพุพองสี แดงขนาดเล็ก และอาจเกิดสะเก็ดแผลเมื่อแผลพุ พองแตก
• บริเวณผิวที่เป็นผื่นจะคันมาก ผิวจะหนาขึ้น หลังแกะสะเก็ดผิวจะแข็งและหยาบ
• ในทารกแรกเกิดมักปรากฏตามแก้ม ศอก เข่า และลำตัว
• หลังอายุ 2 ปี ผื่นมักจะปรากฏตามบริเวณต่าง ๆ เช่น คอและหลังเข่ากับข้อศอก
• ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมักขึ้นครั้งแรกเมื่ออายุสองถึงสามเดือน อาการจะเป็นๆ หาย ๆ
• ส่วนมากผื่นมักขึ้นก่อนอายุห้าปีและหายไปเมื่ออายุครบสิบห้าปี บางรายอาจยังมีผื่นจนโต
สาเหตุ:
• ไม่มีสาเหตุแน่ชัด เชื่อว่าโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง / โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุ กรรม
• เป็นภาวะที่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน
• โดยปกติสมาชิกในครอบครัวคนอื่น ๆ อาจเจ็บป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ เช่น โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ และโรคหอบหืด หรือแพ้สารบางอย่าง เช่น สารซักฟอก ละอองเกสร ฝุ่น หรืออาหาร
การรักษา:
• นอกจากการดูแลผิวให้ดีแล้ว (ดูด้านล่าง) แพทย์อาจจ่ายยา เช่น สเตียรอยด์ หรือยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุ มอาการ
การป้องกันและการดูแล:
การดูแลผิวให้ดีเพื่อรักษาความสะอาดและความชุ่มชื้น:
• อาบน้ำทารกด้วยน้ำอุ่ นพอสมควรและเจลอาบน้ำ ปราศจากสารสบู่
ให้ความสนใจเรื่ องการทำความสะอาดผิวส่วนข้อพั บเป็นพิเศษ
• ทาครีมให้ความชุ่มชื้นที่ ปราศจากน้ำหอมในช่วงอากาศแห้ งและหลังการทำความสะอาด
• ตัดเล็บทารกให้สั้นเสมอเพื่ อลดโอกาสการเกิดการบาดเจ็บที่ผิ วหนังเนื่องจากการเกา
การสวมถุงมือให้ทารกอาจช่วยได้
• ให้ความสนใจเรื่ องอากาศและความชื้นในสภาพแวดล้ อม
หลีกเลี่ยงการปล่อยให้ทารกสัมผั สลมเย็นและแสงแดดแรง
• ปรับอุณหภูมิห้องให้อบอุ่นเสมอ เช็ดเหงื่อทารกเพื่อหลีกเลี่ ยงอาการระคายเคือง
เสื้อผ้า:
• ผ้าฝ้ายจะดีกว่าวัสดุอื่น ๆ เช่น ขนสัตว์ ไหม และไนลอน
• สวมผ้าฝ้ายเท่านั้นเมื่ออยู่ ใกล้ชิดกับทารกโดยตรง
• ผู้ดูแลควรให้ความสนใจกับเสื้ อผ้าที่เลือกใช้เมื่อใกล้ชิดกั บผิวทารกโดยตรง เพื่อหลีกเลี่ยงอาการระคายเคื อง
• ใช้สารซักฟอกสูตรอ่อนโยนในการซั กเสื้อผ้าทารก
โปรดจำไว้ว่าต้องล้างสารซั กฟอกออกให้หมดหลังการซัก
สภาพแวดล้อมภายในบ้าน:
• ดูแลบ้านให้สะอาด ใช้เครื่องดูดฝุ่นหรือผ้าเปี ยกในการกำจัดฝุ่น วิธีนี้สามารถป้องกันฝุ่ นละอองขนาดเล็กจากการกระจายตั วในอากาศขณะทำความสะอาดได้
• หลีกเลี่ยงการใช้พรม
• หลีกเลี่ยงการมีของเล่นและสัตว์ ที่มีขนปุกปุย เช่น แมว สุนัข หรือนก เพื่อลดโอกาสการเกิดการแพ้ให้ เหลือน้อยที่สุด
อาหาร:
• การป้อนนมแม่อาจป้องกันโรคผื่ นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็กบางคนได้
• ยังไม่มีการยอมรับอย่างหนักแน่ นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่ างโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนั งและอาหาร หากจำเป็นให้ปรึกษาแพทย์สำหรั บความต้องการในการเปลี่ยนไปดื่ มนมผงเด็กแรกเกิดพิเศษ
โรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน
ลักษณะภายนอก:
• ปรากฏเป็นก้อนนูนสีค่อนข้ างแดงจากสะเก็ดความมันขนาดเล็ก หรือเป็นสะเก็ดหนาสีเหลืองที่ติ ดกันจนเป็นชั้นสะเก็ดขนาดใหญ่
• มักขึ้นตามบริเวณที่มีต่อมผิ วหนังมาก เช่น ศีรษะ หน้าผาก แก้ม คิ้ว หู รักแร้ หน้าท้อง และข้อพับระหว่างขาอ่อน เมื่อปรากฏที่หนังศีรษะมักจะรู้ จักกันในชื่อ "ภาวะต่อมไขมันอักเสบในเด็ กทารก"
• มักปรากฏเมื่อทารกอายุ ประมาณสามสัปดาห์ถึงสามเดือน ส่วนมากอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่ออายุประมาณหกเดือน
สาเหตุ:
สาเหตุนั้นไม่แน่ชัด
การดูแล:
• ทำความสะอาดผิวทารกด้วยน้ำเปล่า ไม่แนะนำให้ใช้สบู่ / เจลอาบน้ำ
• ทาครีมที่ให้ความชุ่มชื้นทุกครั้งหลังการทำความสะอาดเพื่ อคงความชุ่มชื้นให้ผิว
• สำหรับสะเก็ดหนาบนหนังศีรษะ ให้ทาน้ำมันมะกอกและปล่อยทิ้ งไว้ประมาณยี่สิบนาทีเพื่อทำให้ นิ่ม จากนั้นเช็ดสะเก็ดออกอย่างเบามื อด้วยผ้าฝ้าย ลงแชมพูที่ผมทารกและใช้หวีเพื่ อกำจัดแผ่นสะเก็ดที่ติดกับผม
• ปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้อี กครั้งหากจำเป็น
• ปรึกษาแพทย์หากยังมีภาวะรุ นแรงอยู่หรือหากหนังศีรษะเป็นสี แดงและอักเสบ
ผื่นแพ้สัมผัส
ผื่นแพ้สัมผัสสามารถแบ่งได้เป็นประเภทอาการระคายเคืองและอาการแพ้ ผื่นแพ้สัมผัสเกิดขึ้นตามผิวที่ สัมผัสกับสารที่เป็นสาเหตุ ของอาการระคายเคืองและอาการแพ้ โดยตรง
ลักษณะภายนอก:
• เกิดขึ้นตามบริเวณที่มักสัมผัสกับสารที่ทำให้แพ้ / ระคายเคือง
• ผิวกลายเป็นสีแดงและคัน อาจมีตุ่มแผลขนาดเล็กเกิดขึ้น
สาเหตุ:
• อาการอักเสบเกิดขึ้นเมื่อผิวสั มผัสกับสารที่ทำให้แพ้อีกครั้ง เช่น น้ำลายทารก สารซักฟอก อาหาร หรือยา
• อาจเกี่ยวข้องกับอาการแพ้หลั งการสัมผัสกับสารที่ทำให้แพ้ เช่น โลหะบางชนิดอย่างเงิน สารสี และอื่น ๆ ผู้ปกครองอาจไม่ได้ระมัดระวั งสารเหล่านี้เนื่องจากลั กษณะภายนอกดูไม่อันตราย
การป้องกันและการดูแล:
• สิ่งสำคัญคือการหลีกเลี่ยงการสั มผัสกับสารที่ทำให้ระคายเคื องและสารที่อาจก่ออาการแพ้
• การดูแลคล้ายกับโรคผื่นภูมิแพ้ ผิวหนัง
• ปรึกษาแพทย์หากไม่มีอาการดีขึ้ นหรือหากมีภาวะรุนแรง
• หากจำเป็นแพทย์อาจจัดยาตามสมควร เช่น ครีมสเตียรอยด์ ในบางกรณีมีการทดสอบอาการแพ้ที่ ผิวหนังเพื่อระบุสารที่ทำให้แพ้
ขอขอบคุณขอมูลโดย
Family Health Service
Department of health
https://www.fhs.gov.hk/ english/other_languages/thai/ child_health/new_born/14851. html