เลี้ยงลูกแบบผูกพัน (Attachment Parenting) มีผลต่อความสัมพันธ์ของคุณพ่อ-คุณแม่ อย่างไร?

2212 Views  | 

เลี้ยงลูกแบบผูกพัน (Attachment Parenting) มีผลต่อความสัมพันธ์ของคุณพ่อ-คุณแม่ อย่างไร?

การเลี้ยงลูกแบบผูกพันคืออะไร ดีหรือไม่ดีอย่างไร มาดูกันค่ะ

  การเลี้ยงลูกแบบผูกพัน (Attachment Parenting) คือ การเลี้ยงดูลูกแบบอยู่กับเขาตลอดเวลา ไม่ห่างแม้แต่เวลาจะนอน อาจเป็นสไตล์การเลี้ยงดูลูกที่มีความนิยมอย่างมากในสังคมปัจจุบันนี้ แต่แม้จะเป็นสไตล์การเลี้ยงลูกที่หลายครอบครัวทำอยู่ ก็ยังไม่วายจะมีกระแสวิพากวิจารณ์อยู่เนือง ๆ ถึงข้อเสียที่อาจทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส ซึ่งถ้ายังนึกไม่ออก ว่าการเลี้ยงดูลูกแบบผูกพันจะสร้างปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ยังไง วันนี้เราก็มีข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกแบบผูกพัน (Attachment Parenting) มาฝากกันด้วยค่ะ

  การเลี้ยงลูกแบบผูกพัน (Attachment Parenting) คืออะไร ?


      การเลี้ยงลูกแบบผูกพัน (Attachment Parenting) คือ การที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญกับลูกรักเป็นอันดับหนึ่ง ทุ่มเวลาให้เขาอย่างเต็มที่ ไม่ยอมห่างจากลูกเลยสักนิด ตอนจะนอนก็นอนเตียงเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี และไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่บางกรณีการทุ่มเวลาให้ลูกรักจนหมด จนไม่เหลือพื้นที่ว่างให้คู่สมรสบ้างเลย ก็อาจจะสร้างระยะห่างให้คุณและคู่สมรสได้เหมือนกัน ซึ่งปัญหาที่ว่าจะมีอะไรบ้าง ก็ตามมาดูเลยค่ะ
 
  สามีถูกจัดอันดับความสำคัญเป็นลำดับที่ 2

          ด้วยความที่คุณแม่เป็นคนที่อุ้มท้องลูกรักมานานถึง 9 เดือน เป็นคนเบ่งคลอดออกมา โดยปกติแล้วก็จะสานต่อหน้าที่เลี้ยงดูเขาหลัก ๆ ต่อไปจนกว่าลูกรักจะมีอายุ 3-4 ปี ซึ่งช่วงเวลา 3-4 ปีที่ว่านี้ เป็นช่วงที่คุณพ่อจะมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูลูกค่อนข้างน้อยกว่าคุณแม่ซะด้วยสิ ในขณะที่คุณแม่ทุ่มเทเวลาให้ลูกน้อยได้อย่างเต็มที่ เพราะหน้าที่หลัก ๆ ของคุณพ่อก็จะเป็นการทำงาน หาเงินมาให้ครอบครัวมากกว่า ยิ่งถ้าคุณแม่และคุณพ่อเลือกที่จะให้ลูกนอนนอนตรงกลาง บนเตียงเดียวกัน เวลาส่วนตัวของคุณพ่อคุณแม่ก็จะถูกลดทอนลงไปอีก กลายเป็นว่า ความสัมพันธ์ของพ่อ แม่ และลูกแน่นแฟ้นดี แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสเหมือนจะมีระยะห่างมากขึ้น ซึ่งที่ปรึกษาเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวก็มีความเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบไหน ก็ต้องมีเวลาดูแลเอาใจใส่กันและกันอย่างเท่าเทียม เพราะตราบใดที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้สึกขาด ก็จะเกิดปัญหาความสัมพันธ์ขึ้นทันที

  เลี้ยงดูลูกร่วมกัน ทำได้ยาก

          แม้ว่าบางครอบครัวจะออกตัวว่า สามารถวางแผนเลี้ยงลูกแบบผูกพัน และแบ่งหน้าที่ดูแลลูกรักได้อย่างสบาย ๆ ไม่มีปัญหาความขัดแย้งใด ๆ กับคู่สมรส แต่ก็ต้องยอมรับว่า บางครั้งก็ทำตามที่ตกลงกันไว้ไม่ได้ เช่น ในขณะที่คุณและคนรักทำหน้าที่เป็นคุณพ่อคุณของเจ้าตัวน้อยได้อย่างดีเยี่ยมในช่วงเวลากลางวัน แต่พแตอนกลางคืนที่น่าจะได้มีเวลาส่วนตัวด้วยกันบ้าง บนเตียงกลับมีเจ้าตัวเล็กนอนคั่นกลาง จนคุณพ่อขอแยกเตียงเดี่ยวไปนอนคนเดียวดีกว่า เป็นแบบนี้นานไปความสัมพันธ์ของคนที่แต่งงานกัน ดูท่าว่าจะเกิดช่องโหว่ซะแล้วสิ
 
  ขาดช่วงเวลาส่วนตัว

          จริง ๆ แล้วเราไม่มีทางตัดสินได้ว่า วิธีการประคับประคองชีวิตสมรสแบบไหนถูก หรือแบบไหนที่ไม่ควรทำ เนื่องจากเราไม่ได้ยืนอยู่ในจุดเดียวกันกับเขาเหล่านั้น แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านครอบครัวต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการหาทางแก้ไข มักจะเป็นเรื่องทำนองว่า ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้ความสำคัญต่อกันและกันน้อยลง แม้ว่าคนที่แย่งความสำคัญส่วนนั้นไป จะเป็นลูกแท้ ๆ ของตัวเองก็ตาม

           โดยผู้เชี่ยวชาญก็ได้ให้ความเห็นว่า บางครอบครัวก็สามารถเลี้ยงลูกแบบผูกพันได้อย่างราบรื่นดี และปฏิเสธไม่ได้ว่า วิธีการเลี้ยงลูกแบบนี้จะดีกับตัวเด็กมาก ๆ แต่ในทางกลับกัน พ่อและแม่เองก็จะต้องยอมเสียสละเวลาที่จะได้อยู่กันสองต่อสองไป ไม่มีโอกาสได้ทำกิจกรรมกุ๊กกิ๊กร่วมกัน และพอไม่มีเวลาพิเศษแบบคู่รักให้กันและกันบ่อยขึ้น ความสัมพันธ์จะเริ่มเปลี่ยนไปเป็นฐานะของคนเป็นพ่อแม่ มากกว่าที่จะเป็นฐานะของคูรักคู่สมรสกันเช่นเดิม
 
           อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกแบบผูกพันก็ไม่ใช่วิธีการเลี้ยงลูกที่ผิดไปซะทีเดียว เพราะถ้าหากคุณพ่อและคุณแม่ต่างก็มีความเห็นตรงกัน ว่าจะเลี้ยงดูลูกรักอย่างใกล้ชิด ก็น่าจะเข้าใจปัญหาจุกจิกตรงนี้ได้ดี แต่ทั้งนี้ก็ควรต้องแบ่งเวลามาใส่ใจกันและกันด้วย เพื่อให้สามารถทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไปได้แบบไร้ปัญหาครอบครัวค่ะ

 

****แหล่งข้อมูลออนไลน์สำหรับอ้างอิง

https://baby.kapook.com/view77943

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy