สังเกต “ลูก” ก่อนสาย เรียนรู้ “ช้า” หรือ “เร็ว” รู้ได้อย่างไร?

1471 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สังเกต “ลูก” ก่อนสาย เรียนรู้ “ช้า” หรือ “เร็ว” รู้ได้อย่างไร?

 สังเกต “ลูก” ก่อนสาย เรียนรู้ “ช้า” หรือ “เร็ว” รู้ได้อย่างไร?

การมีบุตรยากแล้ว… การดูแลบุตรหลังคลอดก็ยากไม่แพ้กัน โดยเฉพาะการเลี้ยงลูกให้เติบโตอย่างดีแถมมีพัฒนาการทา งสมองที่ดี ยิ่งต้องสังเกตตั้งแต่แรกคลอด คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ต้องให้ความสําคัญอย่างไร แค่ไหนถึงเรียกว่าพิเศษพอ เพราะสัญญาณเล็กๆ จากลูก อาจบ่งบอกได้ว่าเด็กปกติหรือมีความผิดปกติหรือไม่?

 “พัฒนาการในเด็กทารกแรกคลอด

ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ “

 สําหรับสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ หรือสัตว์นั้น เมื่อแรกคลอดสิ่งแรกที่มีนั้น ก็คือ สัญชาตญาณของการเอาตัวรอด ฉะนั้น สัญญาณต่างๆ ที่ลูกแสดงให้เห็น ก็คือ สัญาณการพยายามดํารงชีวิต และพัฒนาการของเขานั้นเอง… ในช่วงแรกเกิด ถึง 1 เดือน ทารกจะสามารถตอบสนองได้ไม่มาก เมื่อจับนอนควํ่า จะยกศีรษะขึ้นได้เล็กน้อย เมื่อเอาไฟฉาย ส่องที่หน้าจะตอบสนองโดยการกะพริบตา สามารถจับจ้องมองหน้าแม่และมองตามได้ โดยการหันตามเสียงของคนที่คุ้นเคย หรือได้ยินบ่อยๆ พฤติกรรมแบบนี้แสดงว่าลูกเริ่มมีพัฒนาการทางสมองด้านความจําบ้างแล้ว ส่วนพัฒนาการทางกายด้าน กล้ามเนื้อนั้น สังเกตได้จากการขยับแขนขา แสดงสีหน้า ยกคอ หรือขืนตัวขณะอุ้ม ที่สําคัญช่วงนี้ลูกยังพูดไม่ได้เขาจะสื่อสาร ด้วยการร้องเมื่อหิว หรือไม่สบายตัว ซึ่งพ่อแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกร้องนานๆ ควรอุ้มเพื่อให้เค้ารู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และลด ความเครียดให้ลูก ช่วยให้เขาเป็นเด็กอารมณ์ดีส่งผลต่อพัฒนาการที่ดีของลูกในอนาคต

 การร้องไห้ของลูกสื่อสารอะไร ?  ด้วยวัยที่เพิ่งคลอดช่องทางการสื่อสารของทากจึงมีไม่มาก เพราะเขายังไม่มีภาษาพูดที่จะ พูดจาสื่อให้คนอื่นรู้การร้องไห้จึงเป็นวิธีเดียวที่ทารกจะใช้แทนภาษาพูด เพราะฉะนั้นพ่อแม่คงต้องมาเรียนรู้ภาษาของลูกกัน สักหน่อย ว่าแต่ละเสียงร้องนั้นสื่อสารอะไร หิว เปียก ร้อน หนาว หรือว่าเพียงแค่ต้องการให้อุ้ม ทั้งนี้ทั้งพ่อและแม่ควรมีการ ตอบสนองต่อการร้องไห้ของลูก ซึ่งหลายคนอาจจะกังวลว่าจะทําให้ลูกเอาแต่ใจ แต่ไม่เลยตรงกันข้ามการตอบสนองที่ถูก ต้องทําให้ลูกเกิดความเชื่อมั่น และความไว้วางใจ ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญของพัฒนาการในช่วงวัยทารก

 “แล้วอาการแบบไหน ถึง… บอกว่าลูกมีพัฒนาการช้า”

สําหรับคุณพ่อคุณแม่แล้ว คงไม่มีอะไรสําคัญไปกว่าการได้เห็นลูกมีพัฒนาการที่ดี เติบโตแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ แต่ หากไม่เป็นอย่างที่หวัง การรู้เท่าทันพัฒนาการของลูกคงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีพัฒนาการช้า หรือเร็ว แล้วพัฒนาการช้านั่นขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง 

พัฒนาการของเด็กไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมเพียงอย่างเดียว แต่ยังแตกต่างตามเพศด้วย เช่น เด็กผู้ชายมักมีพัฒนาการ ด้านร่างกายดีกว่าเด็กผู้หญิง ที่จะแสดงพัฒนาการด้านภาษา อารมณ์ ความคิด ได้ดีกว่า เป็นต้น  นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตความผิดปกติของลูก เช่น

• ศีรษะเล็ก หรือใหญ่เกินไป บ่งบอกถึงการเจริญเติบโตของสมองที่อาจผิดปกติเช่น ขาดอากาศขณะคลอด หรือเป็นโรค ทางพันธุกรรม

• หูผิดรูป เช่นอยู่ตํ่าหรือสูงเกินไปจนสังเกตได้ติ่งหูยาวผิดปกติมีรูด้านหน้าหูหรือหูไม่มีรู

• ตาห่างผิดปกติตาเหล่เข้า ตาเหล่ออก หรือ เมื่อมองตามวัตถุแล้วตาแกว่ง ไม่จับจ้องที่วัตถุไม่สบตา เป็นต้น

หรือในบางรายที่ลูกไม่แสดงอาการผิดปกติชัดเจนตั้งแต่แรกเกิด ยกตัวอย่างเช่น ทารกที่มีภาวะบกพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน ส่วนมากมักไม่มีอาการผิดปกติเมื่อแรกเกิด แต่อาการจะค่อยๆ ปรากฎเมื่ออายุมากขึ้น เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความรุนแรงของ โรค โดยสังเกตอาการลูกได้จาก ท้องผูก, ง่วงซึมหรือนอนมากกว่าปกติ, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, สะดือจุ่น, ท้องอืด, ลิ้นใหญ่ และ เสียงแห้ง หากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นโรคปัญญาอ่อนได้เมื่อโตขึ้น อย่างไรก็ตาม ลูกเป็นสิ่งสําคัญที่สุดในชีวิตของคนเป็นพ่อและแม่ เราคงรู้สึกไม่ดีสักเท่าไหร่ หากพบว่าลูกเติบโตขึ้นมี พัฒนาการช้าและอยู่ร่วมในสังคมด้วยความกังวล ฉะนั้นเมื่อพบความผิดปกติแล้วควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพื่อหาแนวทาง การรักษาที่ถูกต้อง สัญญาณการบกพร่องของลูกคุณจะได้ถูกแก้ไขโดยเร็ว

 “เลี้ยงลูกให้เรียนรู้เร็ว เป็นเด็กมีพัฒนาการที่ดี “

ลูกจะเติบโตอย่างมีคุณภาพได้ต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ ที่ควรดูแลตั้งแต่เรื่องโภชนาการ เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด เข้าใจในพฤติกรรม และทําให้ลูกมีพัฒนาการที่ต่อเนื่อง และเหมาะสม สรุปสั้นๆ สําหรับคุณพ่อคุณแม่ ที่อยากให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีควร

• ปล่อยให้ลูกได้เรียนรู้ลองผิดลองถูก เช่นสัมผัสรสชาติอาหาร อุณหภูมิที่แตกต่างกัน ฝึกรับรู้ส่งเสริมพัฒนาการสมอง

• ให้ลูกมีอิสระ ได้เคลื่อนไหว รู้จักการทรงตัว เพื่อพัฒนาการร่างกายที่ดีของเด็ก

• ฝึกให้ลูกได้เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติจากคน สัตว์ต้นไม้สิ่งของรอบๆ ตัว

• ช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และฝึกสมาธิลูกด้วยดนตรีและเสียงเพลง

 สุดท้าย พ่อแม่ต้องยอมรับในความต้องการ และนิสัยของเด็กที่แตกต่างกัน ทั้งด้านพฤติกรรมและอารมณ์สังเกตจุดเด่น จุด ด้อย ส่งเสริมในสิ่งที่ลูกสนใจ เพื่อให้เค้ามีความมั่นใจ กล้าคิดกล้าทําในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อให้เค้าเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ที่ สําคัญควรนําลูกไปพบแพทย์เฉพาะทางด้านการดูแลเด็ก เพื่อตรวจสอบร่างกาย ความผิดปกติอย่างสมํ่าเสมอ เราจะได้อุ่นใจว่า เมื่อมีเขาออกมาลืมตาดูโลกแล้ว เรายังมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ช่วยกันดูแลเขา ตั้งแต่แรกเริ่ม ต้นเติบโตได้อย่างมีคุณภาพ

 ขอบคุณบทความโดย
:แพทย์หญิง อรรัตน์ น้อยเพิ่ม
 โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้