ทารกแรกเกิดวิกฤติ ทุกนาทีมีความหมายกับชีวิต

1476 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทารกแรกเกิดวิกฤติ ทุกนาทีมีความหมายกับชีวิต

 ทารกแรกเกิดวิกฤติ ทุกนาทีมีความหมายกับชีวิต

 สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์การดูแลเจ้าตัวน้อยให้ออกมาลืมตาดู โลกอย่างราบรื่นคือสิ่งสำคัญที่ สุด จากข้อมูลของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีระบุว่า ประเทศไทยมีทารกเกิดใหม่ถึงปีละ 7 แสนคน โดยมีทารกที่เกิดก่ อนกำหนดประมาณ 1 แสนคน และอัตราการเสียชีวิตของเด็ กแรกคลอดอยู่ที่ 6.7 คนใน 1 พันคน เป็นอันดับ 3 ของอาเซียน ดังนั้นทารกแรกเกิ ดและทารกแรกเกิดวิกฤติจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลโดยกุ มารแพทย์สาขาทารกแรกเกิดและปริ กำเนิดโดยเฉพาะที่หน่วยดู แลทารกแรกเกิดวิกฤติ (Neonatal Intensive Care Unit: NICU) ไม่เพียงช่วยให้รักษาได้ทันท่ วงที ยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิ ดขึ้นได้ เพราะทุกนาทีของทารกแรกเกิดนั้ นมีความสำคัญอย่างมาก เวลาที่ต่างกันในการคลอดแม้เพี ยงหนึ่งวันก็มีผลต่อพั ฒนาการของทารก  


 คุณแม่รู้ทันครรภ์เสี่ยง

ทารกแรกเกิดอาจมีความผิดปกติ หากคุณแม่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้

• ตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี

• มารดาอายุน้อยกว่า 16 ปี

• มีเลือดออกผิดปกติขณะตั้งครรภ์

• รกลอกตัวก่อนกำหนดคลอด หรือรกเกาะต่ำ

• ความดันโลหิตสูง เกิน 160 มม.ปรอทขึ้นไป

• โรคเบาหวาน

• มีการติดเชื้อ เช่น เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่าง ๆ

• โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE)

• ครรภ์แฝด

• ครรภ์เป็นพิษ

• น้ำคร่ำมากหรือน้อยเกินไป

• ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด


 ความผิดปกติของทารก

ภาวะวิกฤติหรือความผิดปกติ ของทารกที่ต้องได้รับการดูแลรักษา ได้แก่

• ทารกคลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ (หรือหลังอายุครรภ์ 42 สัปดาห์)

• ทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,500 กรัม หรือมากกว่า 4,000 กรัม

• ทารกมีน้ำหนักผิดปกติเมื่อเที ยบกับอายุครรภ์

• ทารกแฝด

• ทารกตรวจพบความผิดปกติ เช่น ขาดออกซิเจน

• ทารกมีท่าผิดปกติในครรภ์ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง

• ทารกเกิดความผิดปกติระหว่างคลอด

• ทารกพิการแต่กำเนิด


 การดูแลทารกแรกเกิด


การดูแลทารกแรกเกิดควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากกุ มารแพทย์ ซึ่งการดูแลที่จำเป็น ได้แก่


• การวัดสัญญาณชีพตลอด 24 ชั่วโมง

• การควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม

• การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ

• การดูแลรักษาระบบทางเดินหายใจ

• การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน

• การเฝ้าระวังติดตามและการดูแลรั กษาเฉพาะโรค

• การดูแลด้านโภชนาการ

• การดูแลด้านขับถ่าย

• การดูแลติดตามด้านพั ฒนาการในระยะสั้นและระยะยาว


 การดูแลเฉพาะทารกแรกเกิดวิกฤติ


 ทารกที่มีความผิดปกติจำเป็นที่ จะต้องได้รับการดูแลเป็นพิ เศษในด้านต่าง ๆ ดังนี้

• การช่วยกู้ชีพและให้ออกซิ เจนทารก 
เป็นการดูแลหลั งจากทารกคลอดออกมา ซึ่งเด็กที่คลอดส่วนใหญ่ จะหายใจเองได้ แต่มีเพียง 1% เท่านั้นที่ไม่สามารถหายใจได้เอง ซึ่งต้องการการกู้ชีพจึงต้องใช้ อุปกรณ์ช่วยหายใจเพื่อให้ทารกหายใจเองได้


• การปรับอุณหภูมิร่างกายทารก 
โดยใช้ตู้อบช่วยให้ทารกมีอุณหภู มิเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ควรอยู่ในช่วง 36.8 – 37.2 องศาเซลเซียส เพราะหากทารกแรกคลอดตัวเย็น อาจทำให้ความดันในปอดสูง เกิดปัญหาหายใจเร็วได้


• การควบคุมการติดเชื้อ 
เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ทารกอยู่ ในครรภ์ เช่น แม่มีน้ำเดินก่อนคลอดนานกว่า 18 ชั่วโมง แม่มีเชื้อราในช่องคลอด แม่ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น


• การให้สารน้ำ สารอาหาร และโภชนาการที่เหมาะสม 
จะเน้นการให้นมแม่มากที่สุด แต่หากทารกมีภาวะเจ็บป่วย เช่น น้ำตาลต่ำ อาจต้องตรวจระดับน้ำตาลในเลื อดเป็นระยะ หรือในกรณีที่ทารกคลอดก่อนกำหนด หายใจเร็ว ไม่สามารถทานเองได้ก็จำเป็นที่ จะต้องให้สารอาหารผ่ านทางสายยางให้อาหารและสารน้ำ ทางเส้นเลือด เป็นต้น


 นอกจากนี้การดูแลทารกแรกเกิดวิกฤตินั้นมีการนำอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยเข้ามาช่ วยในการดูแลรักษา อาทิ ตู้อบ เครื่องช่วยหายใจความถี่สูง เครื่องจ่ายก๊าซไนตริกออกไซด์ เพื่อรักษาภาวะความดันหลอดเลื อดในปอดสูง เครื่องส่องไฟรักษาภาวะตัวเหลื องในทารกแรกเกิด เป็นต้น เพื่อให้ทารกมีสุขภาพที่แข็ งแรงโดยเร็ว


 ปัญหาทารกแรกเกิดวิกฤตินั้ นสามารถป้องกันได้ หากคุณแม่ฝากครรภ์อย่างมีคุ ณภาพตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เพื่อจะได้ตรวจสุขภาพคุณแม่คุ ณลูกและดูแลอย่างถูกต้ องตามคำแนะนำของสูติ – นรีแพทย์และกุมารแพทย์ หากพบปัญหาจะได้ วางแผนการคลอดและการดูแลรั กษาได้โดยเร็ว ซึ่งโรงพยาบาลกรุงเทพพร้อมดู แลสุขภาพคุณแม่ตั้งครรภ์ให้เจ้ าตัวน้อยออกมาลืมตาดูโลกได้อย่ างแข็งแรงและเติบโตมีพัฒนาการที่ ดีตามวัย


 ขอบคุณข้อมูลโดย
: พญ. อรวรรณ อิทธิโสภณกุล
ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้